วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 


วันพฤหัสบดี ที่ 18 เดือนกันยายน พ.ศ. 2557


กิจกรรมในชั้นเรียน

ชื่อกิจกรรม   >> พลิกไป พลิกมา ภาพนี้สวยจัง (Turn and Turn)
อุปกรณ์         >> กระดาษ (Paper)
                       >> สีไม้ หรือสีเมจิก (Colour)
                       >> ไม้ลูกชิ้น หรือไม้ตะเกียบ (Chopstick) 
                       >> กาว(Glue)




ขั้นตอนในการทำ

1. นำกระดาษมา 1 แผ่น
2. พับครึ่งกระดาษ ให้พอดี
3. วาดภาพสิ่งที่เชื่อโยงกัน ทั้ง 2 ด้าน
4. ระบายสีให้สวยงาม
5. นำไม้ลูกชิ้น หรือไม้ตะเกียบ ทากาวติดเข้ากับตรงกลาง 
    ด้านในของกระดาษที่พับปะกบไว้
6. ใช้มือปะกบที่ด้ามไม้ แล้วหมุนมือ พลิกไป พลิกมา 
    จะเกิดเป็นภาพที่เชื่อมโยงกัน อย่งสวยงาม

ผลงาน "ดอกไม้แสนสวย"





ทักษะ และความรู้ที่เด็กได้รับจากการทำกิจกรรมสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้

1. เกิดความคิดสร้างสรรค์ ได้คิดตามจินตนาการของตนเอง
2. สร้างสรรค์ผลงานได้ด้วยตัวเอง
3. ได้มีปฏิสัมพันธ์ ในการประดิษฐ์ และเล่นร่วมกันกับเพื่อน
4 . ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการประดิษฐ์
5. เด็กอารามณ์ดี มีความสุข
6. เด็กสามารถเชื่อมโยงภาพที่สอดคล้องกันได้
7. เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของภาพ

การนำเสนอ บทความวิทยาศาสตร์ (Science Article)

1. เด็กปฐมวัยเรียนรู้ " สะเต็มศึกษา" 
    ผ่านโครงงานปฐมวัย (Childhood Project)
    จัดโครงการโดย สสวท. จัดกิจกรรมขึ้นเพื่อให้ เด็กได้รู้จักการแก้ปัญหา
    (Learning to solve a problem) 
    และการแสวงหาความรู้(Seek knowledge)
    คำว่า " STEM " มาจาก S >> Science
                                          T >> Technology
                                          E >> Engineer
                                          M >> Math
    
    แนวคิด 

1. ครูเน้นการบูรณาการ
2. ครูเน้นการเชื่อโยงกับเนื้อหา
3. พัฒนาทักษะ
4. ท้าทายความสามารถ
5. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น

2. เด็กปฐมวัยไขคำตอในวันวิทยาศาสตร์น้อย ในหัวข้อ

              " โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร" 

                        จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2556

>> เน้นการสร้างประสบการณ์ (Experience) และการเรียนรู้ (Learning)
>> กระตุ้นการเรียนรู้ และค้นหาคำตอบไปพร้อมกัน (Solve)
>> ปลูกฝังวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
>>  สอนให้เด็กตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร อย่างยั่งยืน


3. บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์

    พ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง จัดค่ายวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ 
 และปลูกฝังการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ซึ่งเด็กปฐมวัยเป็นช่วงแห่งการเรียนรู้
 เด็กได้สังเกต ค้นหาคำตอบในสิ่งที่ตนเองอยากรู้ ด้วยการทดลองทางวิทยาศาสตร์
 รู้จักการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ทำให้เด็กรักในการเรียนวิทยาศาสตร์

การนำไปประยุกต์ใช้

>> สามารถจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในเรื่องที่เด็กสนใจ 
>> สอนให้เด็กได้คิด และค้นหาคำตอบ ด้วยตนเอง โดยการประดิษฐ์หรือการทดลอง
>> สามารถศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตนเอง 
      โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
>> ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ คือเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 
>> สามารถนำการถามโดยใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก เพื่อการคิด และเข้าใจที่ถูกต้อง

เทคนิกในการสอน (Teaching Skill)

>> การให้เด็กได้ทดลอง หรือประดิษฐ์ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเองในสิ่งที่อยากรู้ 
>> ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด
>> ทักษะการคิดวิเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์
>> การศึกษาหาบทความด้วยตนเอง และนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนๆได้ทราบ
>> ทักษะการพูด
>> ทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยี


การประเมินการเรียนการสอน


>> ประเมินตนเอง     : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งการถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน
                                     ตอบคำถามของอาจารย์ และร่วมแสดงความเห็น 
                                    พร้อมจดบันทึกเนื้อหาโดยสรุปความ
>> ประเมินเพื่อน       : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ทุกคนได้ร่วม
                                      แสดงความคิดเห็น และตอบคำถามโดยมีการวิเคราะห์
                                     สิ่งที่อาจารย์ถาม เพื่อให้เข้าใจในการเรียนมากขึ้น
>> ประเมินอาจารย์   : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม มีเทคนิก
                                     ในการสอนโดยใช้คำถามถามปลายเปิด เปิดโอกาสให้นักศึกษา
                                     ได้ถาม - แสดงความเห็น  บรรยากาศน่าเรียน และสนุกสนาน        


                                                      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น