บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันพฤหัสบดีที่ 16 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557
กิจกรรมในวันนี้
การนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย
ผลงานของดิฉัน ^^ หนูน้อยกระโดดร่ม ^^
ผลงาน "หนูน้อยกระโดดร่ม"
โดย ด.ญ. อนุส มูลทรัพย์ อายุ 4 ขวบ ค้ะ
^^ ผลงานของเพื่อนๆ ^^
ความรู้ที่ได้รับ
1. การจัดประสบการณ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
2. การนำสื่อ หรือของเล่น มาสอนวิธีทำ และวิธีเล่น ให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้
ซึ่งในการทำสื่อจะต้องทำให้มีความแข็งแรง ทนทาน และไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก
3. การสอนประดิษฐ์สื่อทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ เด็กต้องทำได้
มีขั้นตอนในการทำที่ไม่ซับซ้อน และเด็กต้องได้รับประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
ประสบการณ์ แบ่งเป็น เนื้อหา และทักษะ
4. การประดิษฐ์สื่อที่มีความหลากหลาย ให้เด็กเกิดการสังเกต ทดลอง
การเปรียบเทียบ และเกิดความคิดสร้างสรรค์
5. ทราบหลักการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งของเล่นวิทยาศาสตร์ แต่ละชิ้น เมื่อเล่นจะเกิด
การเปลี่ยนแปลง โดยมีหลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างไรที่ทำให้เกิดเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ขึ้นมา เช่น ทำไม เมื่อมีลมพัดผ่านมา กังหันลมถึงหมุน ?
6. ในการสอนเด็ก ครูจะต้องมีความรู้ ต้องศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุน
ให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. รู้จักเลือก และประยุกต์วัสดุเหลือใช้ มาประดิษฐ์ของเล่น ของใช้ต่างๆ ได้
8. การพูดนำเสนอชื้นงาน หน้าชั้นเรียน ซึ่งต้องพูดจาสุภาพ ชัดถ้อยชัดคพูดให้ผู้ฟังเข้าใจ ไม่พูดวกไปวนมา เนื้อหาครอบคลุมครบถ้วน
และมีมารยาทที่ดี ทั้งในการเป็นผู้พูด และการเป็นผู้ฟัง
เทคนิกการสอน
1. ให้นักศึกษาสืบค้น และหาข้อมูลวิธีการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ ด้วยตนเอง
2. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำเสนอผลงานของแต่ละคน ให้อาจารย์ และเพื่อนๆ เข้าใจ
3. เมื่อเพื่อนนำเสนอ เพื่อนที่นั่งฟังได้มีส่วนร่วมในการแสดงข้อคิดเห็น และถามข้อข้องใจ
4. ทุกการนำเสนอ อาจารย์จะถามคำถาม เพื่อกระตุ้นความคิด และให้เกิดความเข้าใจกันทุกคน
5. ทักษะการคิดวิเคราะ และการคิดสร้างสรรค์
6. ทักษะการพูด
การนำไปประยุกต์ใช้
การนำไปประยุกต์ใช้
1. สามารถประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น เช่น
การประดิษฐ์สิ่งของอย่างหนึ่ง หลายชิ้น ซึ่งแตกต่างกัน เพื่อให้เด็กได้นำมาเปรียบเทียบ
ข้อแตกต่างของชิ้นงาน
ยกตัวอย่าง >> ประดิษฐ์รถแข่งจากกระดาษที่มีมวลเท่ากัน แต่มีวิธีการพับที่แตกต่างกัน
2. สามารถเลือกวัสดุที่เหมาะสม มาประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กได้
3. สามารถดัดแปลงสิ่งประดิษฐ์ ให้เด็กสามารถใช้เล่นได้หลายๆเรื่อง เช่น
สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถถอดเปลี่ยนรูปภาพต่างๆ ได้
4. สามารถสอนให้เด็กๆ ประดิษฐ์ของเล่นต่างๆได้
5.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจ กล้าคิด กล้าแสดงออก
ได้อย่างสร้างสรรค์
6. สามารถนำเสนอชิ้นงานหน้าชั้นเรียนได้ดีขึ้น มีการอธิบาย บอกหลักการ และการสาธิต
ให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจมากขึ้น
การประดิษฐ์สิ่งของอย่างหนึ่ง หลายชิ้น ซึ่งแตกต่างกัน เพื่อให้เด็กได้นำมาเปรียบเทียบ
ข้อแตกต่างของชิ้นงาน
ยกตัวอย่าง >> ประดิษฐ์รถแข่งจากกระดาษที่มีมวลเท่ากัน แต่มีวิธีการพับที่แตกต่างกัน
2. สามารถเลือกวัสดุที่เหมาะสม มาประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กได้
3. สามารถดัดแปลงสิ่งประดิษฐ์ ให้เด็กสามารถใช้เล่นได้หลายๆเรื่อง เช่น
สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถถอดเปลี่ยนรูปภาพต่างๆ ได้
4. สามารถสอนให้เด็กๆ ประดิษฐ์ของเล่นต่างๆได้
5.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจ กล้าคิด กล้าแสดงออก
ได้อย่างสร้างสรรค์
6. สามารถนำเสนอชิ้นงานหน้าชั้นเรียนได้ดีขึ้น มีการอธิบาย บอกหลักการ และการสาธิต
ให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจมากขึ้น
ประเมินการเรียนการสอน
>> ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน ฟัง และจดบันทึก
สิ่งที่อาจารย์สอน และเนื้อหาที่เพื่อนๆ นำเสนอ
ตอบคำถามของอาจารย์
และร่วมแสดงความเห็น
ชอบสิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนๆ ที่แปลกใหม่ และมีความหลาากหลาย
สามารถนำมาสอนให้เด็กๆทำได้
กล้าในการนำเสนอชิ้นงานหน้าชั้นเรียนมากขึ้น
กล้าในการนำเสนอชิ้นงานหน้าชั้นเรียนมากขึ้น
บรรยากาศในการเรียนเกิดความสนุกสนาน เรียนเข้าใจ และไม่เครียด
>> ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
เพื่อนทุกคนนำสิ่งประดิษฐ์ของตนเองมานำเสนอ การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
มีการพัฒนามากขึ้น อธิบายได้อย่างชัดเจน มีการเตรียมข้อมูลมาล่วงหน้า
ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
ได้ตอบคำถามในสิ่งที่อาจารย์ถาม
และถามอาจารย์ในเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ เพื่อให้เข้าใจในการเรียนมากขึ้น
ได้ตอบคำถามในสิ่งที่อาจารย์ถาม
และถามอาจารย์ในเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ เพื่อให้เข้าใจในการเรียนมากขึ้น
>> ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา
แต่งกายสุภาพเหมาะสม มีเทคนิกที่สนุกสนาน
เปิดโอกาสให้นักศึกษา ได้คิดถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ว่า
ทำไม ทำให้สิ่งประดิษฐ์ถึงเกิดเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น
ให้นักศึกษาได้ถาม และแสดงความคิดเห็นของตนเอง
ให้นักศึกษาได้ถาม และแสดงความคิดเห็นของตนเอง
และอาจารย์อธิบายเนื้อหา หลักทางวิทยาศาสตร์ อย่างชัดเจน
เพื่อให้นักศึกษาได้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น