วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันพฤหัสบดีที่ 4 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2557


^^ วันนี้นำเสนอวิจัยเรื่องสุดท้าย ^^



กิจกรรม >> ไข่หมุน 
1. ไข่ต้มสุก
2. ไข่ดิบ

 ขั้นนำ (Introduction)
 -  ครู แนะนำอุปกรณ์ให้เด็กๆสังเกต

 ขั้นสอน (Step instruction)
1.ให้เด็กๆ นำไข่ต้มสุก มาทดลองหมุน แล้วสังเกตการหมุน 
2. ให้เด็กๆ นำไข่ดิบ มาทดลองหมุน แล้วสังเกตการหมุน 
3. ให้เด็กๆ ทดลองหมุน ทั้งไข่ต้มสุก และไข่ดิบ แล้วสังเกตการหมุน
4. เด็กๆบอกความต่างการหมุนของไข่ทั้งสอง 
  
  ขั้นสรุป (Conclusion)
  -ครู และเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรม

กิจกรรมในวันนี้ คือ 
อาจารย์ สอนขั้นตอน การเขียนวรสารถึงผู้ปกครอง ซึ่งขั้นตอนในการเขียนมีดังนี้

1. พับกระดาษ A4 เป็นสามส่วน 

2. ส่วนของหน้าปก
    - สัญลักษณ์โรงเรียน
    - ชื่อโรงเรียน
    - ชื่อหน่วย
    - รูปภาพเกี่ยวกับหน่วย
    - ชื่อนักเรียน
    - ชื่อครูประจำชั้น

3. ส่วนเนื้อหาข้างใน
    - ข่าวประชาสัมพันธ์
    - วัตถุประสงค์ 
    - สาระการเรียนรู้ 
    - ขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง
    - สื่อที่ใช้สอน เช่น เพลง, คำคล้องจอง หรือนิทาน เป็นต้น

4. ส่วนหลังสุด
    - เกมเกี่ยวกับหน่วย

อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ระดมความคิด และร่วมกันเขียนวรสารถึงผู้ปกครอง
กลุ่มของพวกเรา หน่วยกล้วยค้ะ ^^


ส่วนของด้านหน้า และด้านหลัง


ส่วนของด้านใน 


เทคนิกการสอน 

1. อาจารย์ให้นักศึกษาได้ศึกษา และสรุปทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิจัยทางวิทยาศาสตร์
    สำหรับเด็กปฐมวัย จากนั้นนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนๆ และอาจารย์เข้าใจ 
2. อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยให้เขียนวรสาร ร่วมกันเป็นกลุ่ม
3. อาจารย์ ยกตัวอย่างเนื้อหาในการเขียนวรสารให้นักศึกษาเข้าใจอย่างชัดเจน
4. ทักษะการสรุป มีการสรุปสิ่งต่างๆ ที่นักศึกษาเขียนลงไป 
5. ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นการคิด ทำให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดของตนเอง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


1. สามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้เป็นอย่างดี โดยจะมีการแบ่งหน้าที่อย่างเหมาะสม 
    และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งการแสดงความคิดของตนเอง และการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน
2. สามารถเขียนวรสารถึงผู้ปกครอง ได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ได้จริง
3. สามารถใช้คำถามเกี่ยวกับทักษะทางวิทยาศาสตร์ได้ เช่น
    ทักษะการสังเกตได้ อาจถามได้ว่า  "กล้วยมีลักษณะอย่างไรบ้าง"
    ทักษะการสื่อความหมาย อาจให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง หรือให้เด็กได้รายงาน
4. สามารถขอความร่วมมือจากผู้ปกครองได้อย่างเหมาะสม 

ประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง >>    : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
                                     ตั้งใจฟัง และจดบันทึกการนำเสนอวิจัยของเพื่อน
                                     ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายถึงการเขียนวรสารถึงผู้ปกครอง
                                     และร่วมเขียนวรสารกับเพื่อนๆ โดยจะช่วยกันคิดเนื้อหาต่างๆ
                                     ชอบเทคนิกการเขียนวรสารถุงผู้ปกครองมากค่ะ
                                     เพราะว่าผู้ปกครองจะได้ทราบว่าเด็กๆ เรียนเรื่องอะไร
                                    เนื้อหาที่ครูสอนเป็นอย่างไรบ้าง และยังทำให้การเรียนการสอน
                                    เป็นไปอย่างเหมาะสม สามารถขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง
                                    ในเรื่องต่างๆได้ เช่นให้เด็กนำสื่อของจริงมาโรงเรียน เพื่อจัด
                                    กิจกรรมการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี 
>> ประเมินเพื่อน    :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
                                    เพื่อนๆ ตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกมานำเสนอวิจัย และจดบันทึก
                                    เพื่อนๆให้ความร่วมมือ ในการเขียนวรสารเป็นอย่างดี
                                    มีการเสนอความคิดเห็น และร่วมกันคิดเนื้อหาต่างๆ ที่จะเขียนลงไป
                                    จึงทำให้ผลงานออกมาดีมากค่ะ บรรยาการศในห้องเรียนก็สนุกสนานดี
                                    แต่ละกลุ่มก็ร่วมมือกันทำงาน มีคุยและเล่นกันบ้าง แต่ก็สนุกสนานมากค่ะ
>> ประเมินอาจารย์ :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                                    อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ค้นคว้าวิจัย และนำเสนอ                                
                                    มีเทคนิกการสอนที่เข้าใจง่าย เพราะอาจารย์ จะสอนวิธีการเขียนวรสารก่อน
                                    แล้วให้นักศึกษาจับกลุ่มกันทำกิจกรรม ขณะที่นักศึกษาร่วมกันระดมความคิด
                                    อาจารย์ก็เข้ามาดู และสอบถามว่า "เขียนอย่างไรกันบ้าง" หากนักศึกษา
                                    ไม่เข้าใจส่วนไหน อาจารย์ก็จะช่วยบอก และอธิบายทันที
                                    ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจอย่างถูกต้อง และงานออกมาดีมากค่ะ
                                    เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม อาจารย์ก็ได้สรุปให้นักศึกษาฟังเกี่ยวกับการเขียน
                                    วรสารถึงผู้ปกครอง เป็นเทคนิกการสอนที่ดีมากค่ะ
                                    และสามารถนำไปใช้ได้จริง^^


วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุป โทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครู 

 บ้านนักวิทย์ปี 1 
เรื่อง การละลายของน้ำตาล 

ขั้นนำ (Introduction)
ครูจะใช้คำถามปลายเปิด ถามคำถามเด็กๆ เช่น 
เครื่องปรุงที่คุณแม่ใช้ในบ้านมีอะไรบ้าง? เด็กๆ ตอบว่า พริก, พริกไทย, น้ำตาล
จากนั้นครูแนะนำอุปกรณ์ในการทดลอง ดังนี้
1. น้ำเปล่า (Water)
2. ผ้าเช็ดมือ (Napkin)
3. หลอดหยด(Dropper)
4. น้ำมัน (Oil)
5.น้ำตาลก้อน (Cube sugar)
6. สีผสมอาหาร (Food coloring)
7. จาน (plate)
8. กระดาษทิชชู่ (Tissue)

ขั้นสอน (Step instruction)

                          1. ครูแจกการดาษทิชชู่ และแจกน้ำตาลก้อนให้เด็กๆ 


                                 2. ครูให้เด็กๆ หยดสีผสมอาหารลงบนน้ำตาล



                          3. เทน้ำใส่จาน ประมาณครึ่งจาน จากนั้นครูถามเด็กๆว่า 
                              "ถ้าใส่น้ำตาลลงไปในน้ำจะเกิดอะไรขึ้น" 
                              เด็กๆ ตอบว่า น้ำตาลจะละลาย บางคนก็ตอบว่า น้ำจะเปลี่ยนสี 
                              และบางคนตอบว่า สีผสมกัน  



                            4. นำน้ำตาลก้อนที่หยดสีแล้ว มาวางลงบนจานที่ใส่น้ำไว้

    ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำตาลละลาย น้ำเปลี่ยนสี  


    ทดลองกับน้ำมันบ้างนะ
1. ครูเทน้ำมันลงในแก้วใสใบเล็ก
2. จากนั้นครูใช้คำถามปลายเปิด โดยถามเด็กๆว่า
   "ถ้าครูใส่น้ำตาลก้อนลงไปในน้ำมัน จะเกิดอะไรขึ้น"
    เด็กๆตอบว่า น้ำตาลจะละลาย, น้ำจะเปลี่ยนสี 
3. เมื่อครูใส่น้ำตาลก้อนลงไปในน้ำมัน 

ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำตาลไม่ละลาย และน้ำมันไม่เปลี่ยนสี

ขั้นสรุป (conclusion)
ครู และเด็กๆร่วมกันสรุปกิจกรรม ดังนี้ 
น้ำตาลจะละลายในน้ำ แต่ไม่ละลายในน้ำมัน 



VDO บ้านนักวิทย์ฯ 
กิจกรรม การละลายของน้ำตาล




วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15


วันพฤหัสบดีที่ 27 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557


เนื้อหา และกิจกรรมที่ได้เรียนวันนี้ 


วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอวิจัย และโทรทัศน์ครู 


การนำเสนอวิจัย


   
     ตัวแปรต้น   : ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย 
     ตัวแปรตาม : ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

     ทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ 
     - การสังเกต
     - การจำแนก
     - การวัด
    - การหามิติสัมพันธ์
ตัวอย่างชุดกิจกรรม หน่วย สัตว์เลี้ยงแสนดี
1. ให้เด็กๆ แสดงท่าทางตามแผ่นภาพสัตว์ที่ตนเองหยิบมา
2. ให้เด็กๆ จับคู่ภาพสัตว์ และอาหารของสัตว์
3. ให้เด็กๆ เรียงลำดับภาพสัตว์ขนาดเล็กไปขนาดใหญ่

 
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ทีี่ได้รับ
    - การสังเกต
    -  การกะประมาณ
    - การเปลี่ยนแปลง

หน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ 
1) กิจกรรมแว่นขยายเห็นชัดเจน
2) กิจกรรมแสงเป็นอย่างไร
3) กิจกรรมเสียงในธรรมชาติ


  การคิดเชิงเหตุผล เป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ 

กิจกรรม  >> สนุกกับน้ำ

       ทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ
     - การจำแนกประเภท
     - การจัดประเภท
     - อนุกรม (เหตุผล)

4. วิจัยเรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีผลต่อทักษะวิทยาศาสตร์  ด้านการสังเกต 
                    และการจำแนกของเด็กปฐมวัย
กิจกรรม >> พืชต้องการแสงแดด
     ทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ
     - การสังเกต
     - การจำแนกประเภท
     - การแบ่งปริมาตร และการวัด 
     - การสื่อความหมาย
     - การหามิติสัมพันธ์ 
     - การลงความเห็น 


การนำเสนอโทรทัศน์ครู 


1. จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน เสียงมาจากไหน 
    การทดลอง >>  ไก่กระต๊าก, อ่างดำเกิดเสียงก้อง, กระป๋องร้องได้
    สรุปการทดลอง >> เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนที่ของวัตถุ

2. สอนวิทย์ คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย 
    การทดลอง >> การเปลี่ยนแปลงของน้ำตาล, ความลับของสีดำ, การล้นของน้ำ, จม-ลอย, 

 3. อนุบาล 3 เรียนวิทยาศาสตร์สนุก 
     การทดลอง 
     การต่อไฟฟ้า >> เด็กได้เรียนรู้ขั้วบวก ขั้วลบของถ่ายไฟฉาย และเรียนรู้ว่าไฟส่องสว่างได้อย่างไร
     งูเต้นระบำ     >>  งูกระดาษหมุนได้ เพราะมีลักษณะเป็นโค้งๆ และอยู่เหนือเทียนที่จุดไฟ 
4. กิจกรรมเรือสะเทินน้ำ สะเทินบก 
     เรือเคลื่อนที่ได้ เพราะมีแรงลม 

 5. สัปดาห์วิทยาศาสตร์ 
     กิจกรรมการทดลอง >> พลังงานความร้อน, การดูดความร้อน, ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งของแสงสว่าง

6. ขวดปั๊ม และลิปเทียน 
     การทดลอง >> ขวดปั๊ม, ลิปเทียน

 7. สื่อแสงแสนสนุก

 8. วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตอนพลังจิต คิดไม่ซื่อ

 9. ทะเลฟองสีรุ้ง
     สีต่างๆ เกิดขึ้นจากการหักเหของแสง 

10. สาดสีสุดสนุก
      เด็กได้ทดลองทำสีที่ได้จากธรรมชาติ

11. ทอนาโดมหาภัย 
      ทดลองทำคลื่นน้ำ ในขวด เป็นการผสมกันของน้ำมัน น้ำเปล่า และสีผสมอาหาร 
      ซึ่งน้ำกับน้ำมัน จะแยกชั้นกัน 

12. ไข่ในน้ำ
       ทดลองการจม-ลอย ของไข่
       เมื่อใส่ไข่ลงไปในแก้วที่มีน้ำเปล่า ไข่จะจม
       แต่เมื่อใส่ไข่ลงไปในแก้วน้ำที่ผสมเกลือลงไปในน้ำ จะทำให้ไข่ลอย 

13. ความลับของใบบัว
      ผิวบนใบบัว มีตุ่มเล็กๆ น้ำจึงกลิ้งบนใบบัวได้

                       

เทคนิกการสอน 

1. อาจารย์ให้นักศึกษาได้สืบค้นข้อมูล ในเรื่องของวิจัยวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย 
    และสืบค้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ จากโทรทัศน์ครู ด้วยตนเอง
2. นักศึกษาได้ฝึกการพูดนำเสนองาน หน้าชั้นเรียน ได้รับทักษะการใช้น้ำเสียง, การพูด 
    และบุคลิกภาพที่เหมาะสมในการพูด ได้ถ่ายทอดความรู้ ให้เพื่อนๆ และอาจารย์เข้าใจได้
3. การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นการคิดสร้างสรรค์ และการคิดวิเคราะห์ 
4. การให้คำแนะนำ ดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปต่อยอดในการจัด
    กิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยได้
5. ทักษะการสรุปงาน สรุปจับใจความสำคัญ เพื่อให้ตนเองเข้าใจเนื้อหาที่เพื่อนมานำเสนอได้
6. ทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี ขณะที่นักศึกษาออกมานำเสนอ

การนำไปประยุกต์ใช้ 

1. สามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนมานำเสนอ ไปใช้ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ 
2. สามารถนำทักษะการพูดหน้าชั้นเรียนไปใช้ในการนำเสนอในรายวิชาอื่นได้ และมีหลักการพูด 
    การใช้น้ำเสียง และบุคคลิกภาพที่เหมาะสมในการพูด ไปใช้ในอนาคตได้
3. สามารถนำทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี ในขณะที่มีคนพูด และสามารถจดบันทึกการสรุปความ
    จากสิ่งที่ได้รับฟัง เพื่อให้ตนเองเข้าใจได้
4. สามารถนำทักษะทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยได้ 
5. สามารถประยุกต์การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ และดัดแปลงสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรม
    ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ำซาก 

การประเมินการเรียนการสอน 

>> ประเมินตนเอง    : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
                                  ตั้งใจฟัง และจดบันทึกขณะที่เพื่อนออกมานำเสนอ 
                                  แต่จดได้ไม่ละเอียดเท่าที่ควร เพราะไม่ค่อยสบาย และปวดหัว
                                  เข้าใจในกิจกรรมที่เพื่อนมานำเสนอ และจะนำไปใช้จัดการเรียนการสอน
                                 ให้แก่เด็กปฐมวัยให้ดีที่สุด ^^ 
>> ประเมินเพื่อน     : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
                                  เพื่อนที่ออกมานำเสนองาน มีการสรุป และจับใจความได้เป็นอย่างดี 
                                  เป็นผู้ฟังที่ดีในขณะที่เพื่อนออกมาพูดหน้าชั้นเรียน บางคนก็คุยกันบ้าง 
                                  แต่โดยภาพรวมแล้ว ตั้งใจฟัง และมีการจดบันทึกสรุปในสิ่งที่ได้รับฟัง
                                  มีการแสดงความคิดเห็น และโต้ตอบ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม 
                                  ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเกิดความสนุกสนาน 
                                  เพราะได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ^^
>> ประเมินอาจารย์  : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย 
                                  อาจารย์ให้คำแนะนำ สรุปความ ให้นักศึกษาได้เข้าใจง่ายมากขึ้น 
                                  อาจารย์จับใจความสำคัญ ในเรื่องที่นักศึกษามานำเสนอได้เป็นอย่างดี
                                  อาจารย์อารมณ์ดี สอนอย่างสนุกสนาน ทำให้นักศึกษาไม่เครียด
                                  เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถาม และตอบ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน 
                                  ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจบทเรียน ในวันนี้ได้เป็นอย่างดี ^^ 


วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปความรู้เรื่อง อากาศ




         อากาศ (Atmosphere) คือ ส่วนผสมของก๊าซต่างๆ และไอน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่
ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่นๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย
อากาศมีอยู่รอบๆตัวเราทั่วทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขา และแม้แต่ใน
ที่จอดรถใต้ดินอากาศมีอยู่ในบ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี 
ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่นอากาศที่ไม่มีไอน้ำเรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำ-
ปนอยู่ด้วย เรียกว่า อากาศชื้น ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-4 
ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญ ของอากาศ และไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง รุ้งกินน้ำ เป็นต้น

สมบัติของอากาศ (Properties)

1.อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
2.อากาศมีน้ำหนัก
3.อากาศต้องการที่อยู่
4.อากาศเคลื่อนที่ได้ และเมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ลอยตัวสูงขึ้น
  ทำให้ความหนาแน่นของอากาศบริเวณนี้ลดลง อากาศบริเวณใกล้เคียงที่มีอุณหภูมิ
  ต่ำกว่าความหนาแน่น มากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า 
  การเคลื่อนที่ของอากาศ หรือลม 

               อากาศ จะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อย แต่บางเวลา
เคลื่อนที่มากทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น 
มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก เป็นต้น
             
               ถ้าอุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกันมาก จะทำให้ความหนาแน่น
ของอากาศสองบริเวณนั้น ทำให้เกิดลมที่มีกระแสลมพัดมีความเร็วสูง เรียกว่า พายุ 
ชื่อพายุนั้นจะเรียกแตกต่างไปตามแหล่งทวีปโลก และตามความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น 
ถ้ารุนแรงมาก อาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง
บ้านเรือนพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

อุณหภูมิ (temperature) คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศ ถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิ
จะลดต่ำลง ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ หรือระดับความร้อน-
หนาวของสิ่งต่างๆ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หน่วยของอุณหภูมิใช้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส 
และองศฟาเรนไฮต์

เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer) มีลักษณะคล้ายหลอดแก้ว หัวท้ายปิดมีกระเปาะเล็กๆ
อยู่ปลายด้านหนึ่งภายในกระเปาะบรรจุของเหลว เมื่ออากาศร้อนของเหลวจะขยายตัว 
ทำให้ระดับของเหลวสูงขึ้น เราเรียกว่า อุณหภูมิสูง แต่ถ้าอากาศหนาวของเหลวจะหดตัว 
ระดับของเหลวจะลดลง เรียกว่า อุณหภูมิต่ำ

- อากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิต ถ้าขาดอากาศ สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถ- 
  ดำรงชีวิตอยู่ได้
- อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ โดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณหภูมิ
  ไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป นอกจากนั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกยังทำหน้าที่กรองและดูดรังสี
  อุลตราไวโอเลต หรือแสงเหนือม่วงไว้ ไม่ให้ผ่านเข้าสู่โลกชั้นในมากจนเป็นอันตราย
  ต่อสิ่งมีชีวิต ช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก เช่น อุกกาบาต ขยะอวกาศ
  ทำให้เกิดเมฆฝน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำเกษตรกรรมในประเทศ


วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14


วันพฤหัสที่ 20 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557


 เนื้อหา และกิจกรรมที่ได้เรียนวันนี้   


วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ มาส่งอาจารย์ 

โดยมีการจัดวางสื่อให้เป็นหมวดหมู่^^


เกิดจากจุดศูนย์ถ่วง



เกิดจากแรงดันลม หรืออากาศ ที่กระทบกับวัตถุ ทำให้วัตถุเคลื่อนที่



สื่อที่ทำให้เกิดเสียงต่างๆ



เกิดจากพลังงาน หรือแรง 



สื่อที่สำหรับจัดให้เด็กได้เข้าไปเล่นตามมุม 



สปริงเกอร์ เกิดจากแรงดันของน้ำ ทำให้น้ำพุ่งขึ้น 


การนำเสนอวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย



ทักษะทางวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ดังนี้


                                    1. การสังเกต                                         4. การหามิติสัมพันธ์
                                    2. การจำแนก                                        5.การสื่อสาร 
                                    3. การวัด                                               6. การลงความเห็น


รูปแบบศิลปสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้


                                   1. ศิลปะย้ำ                                             4. ศิลปะถ่ายโยง
                                   2. ศิลปะปรับภาพ                                   5. ศิลปะบูรณาการ
                                   3. ศิลปะเลียนแบบ                                 6. ศิลปะค้นหา


สรุปผลการวิจัย

                       เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ประกอบการบันทึก 
มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงกว่าก่อนการทดลอง
                       ความสามารถในการบันทึก เมื่อเด็กได้รับการฝึกทุกครั้งหลังจากการทำกิจกรรม 
เด็กบางคนสามารถจดรายละเอียดของกิจกรรมได้ทั้งหมด และสามารถเล่าจากผลงานได้
อย่างสอดคล้องกับภาพที่วาด


วัตถุประสงค์ 

                          เพื่อศึกษาการจำแนกของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดประสบการณ์
             โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้

สรุปผลการจัดกิจกรรม

                    เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
มีคะแนนทักษะการจำแนกหลังได้รับการจัดประสบการณ์ โดยการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์โดยการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้

4. วิจัยเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้-
                   กิจกรรมมุ่งเน้นทัักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์
                   อย่างมีแบบแผน

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ดังนี้ 

                                 1. การสังเกกต                                   4. การหามิติสัมพันธ์
                                 2. การจะแนก                                     5. การสื่อความหมาย
                                 3. การแสดงปริมาณ                          6. การลงความเห็น

สรุปผลการวิจัย 

                    จากการศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์
จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่าง
มีแบบแผน และเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ หลังการทดลองที่สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง

^^ มาทำวาฟเฟิลกันเถอะ ^^

อุปกรณ์ และส่วนผสมมีดังนี้

                                 1. ที่ตีไข่ (Whisk)
                                 2. ชาม    (Dish)
                                 3. ถ้วย    (Cup)
                                 4. จาน    (Plate)
                                 5. ช้อน   (Spoon)
                                 6. แป้งวาฟเฟิล  (Waffles flour)
                                 7. ไข่ไก่  (Egg)
                                 8. น้ำ       (Water)
                                 9. เนย     (Butter)
                                10. เตาอบวาฟเฟิล  (Waffles oven)

ขั้นตอนการสอนทำวาฟเฟิล 


1. ครูนำอุปกรณ์ที่เตรียมมา (อาจให้เด็กนำมาจากบ้าน) ให้เด็กๆสังเกต โดยครูบอกว่ามีอุปกรณ์ 
    และส่วนผสมอะไรบ้าง 
2.ครูสาธิตให้เด็กๆดู การทำวาฟเฟิล ทีละขั้นตอน
3. ให้ตัวแทนกลุ่มละ 1 คน มาช่วยครูจัดอุปกรณ์ ให้ครบทุกกลุ่ม แล้วรับอุปกรณ์ไปทำวาฟเฟิล
4. เด็กๆทำวาฟเฟิลทีละขั้นตอน โดยเริ่มจาก
    - ตอกไข่ลงในชาม จากนั้นตีไข่
    - ใส่เนยลงไป จากนั้นตีทั้งไข่ และเนยให้เข้ากัน
    - ค่อยๆเทแป้งลงไป พร้อมกับใส่น้ำทีละนิด จากนั้นตีให้เป็นเนื้อเดียวกัน
    - ตักใส่ถ้วยเล็กๆ
    - เทลงเตาอบวาฟเฟล ปิดฝาเตาให้เรียบร้อย จากนั้นรอจนสุก
    - เมื่อสุกแล้ว ตักออกมาใส่จานพร้อมรับประทานแล้วค้ะ ^^

                                                    


                                                


เทคนิกการสอน


1. การให้นักศึกษาได้สืบค้น และสรุปวิจัยด้วยตนเอง พร้อมถ่ายทอดให้เพื่อน และอาจารย์เข้าใจได้
2. อาจารย์ให้คำแนะนำ หลังจากการนำเสนอวิจัย เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจวิจัยที่ได้สืบค้นมา
3. ทักษะการสรุปวิจัย
4. ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทั้งการพูด และบุคคลิกภาพที่เหมาะสม
5. การใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาได้คิด และกล้าแสดงความคิดเห็นของตนเอง
6. ทักษะการสาธิตขั้นตอนการทำวาฟเฟิล
7. เทคนิกในการสอนทำวาฟเฟลให้กับเด็กปฐมวัย ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เช่น
    ครูอธิบายอุปกรณ์ และสาธิตขั้นตอนการทำวาฟเฟิลให้เด็กๆได้สังเกตก่อนการปฏิบัติจริง,
    มีการให้เด็กๆแบ่งกลุ่ม เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายในการสอน  เป็นต้น
8. ให้นักศึกษาได้ลงมือ และปฏิบัติจริง เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการทำได้มากขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้


1. สามารถจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยได้มากขึ้น เช่น
    การจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ สามารถจัดได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น ได้แก่  ศิลปะย้ำ,
    ศิลปะปรับภาพ, ศิลปะเลียนแบบ, ศิลปะถ่ายโยง, ศิลปะบูรณาการ และ ศิลปะค้นหา 
2. สามารถนำวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย จากท้องถิ่นมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่
    เด็กปฐมวัยได้ เช่น การพิมภาพด้วยใบไม้ หรือนำกิ่งไม้มาประดิษฐ์ได้ 
3. สามารถนำกิจกรรมจากที่เพื่อนมานำเสนอวิจัย มาจัดทำแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
4. สามารถสอนเด็กๆ ทำวาฟเฟิลได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน ครูจะต้องสาธิตให้เด็กๆได้เข้าใจ
    การทำก่อน และมีการให้เด็กๆจับกลุ่มช่วยกันทำ จะทำให้การเรียนการสอนไม่เกิดความวุ่นวาย 
5. ในการทำวาฟเฟิล สามารถเพิ่มส่วนผสมที่ตนเองชอบ ลงไปด้วยได้ เช่น ข้าวโพด, ลูกเกด, 
    ผงโอวัลติน หรืออาจโรยหน้าด้วยช็อกโกแลต ได้ตามต้องการ ^^ 
6. สามารถนำการสอนทำวาฟเฟิล ไปต่อยอดในการสอนเด็กๆทำอาหารอื่นๆได้มากขึ้น

การประเมินการเรียนการสอน   

 

>> ประเมินตนเอง    :   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
                                    นำสื่อสิ่งประดิษฐ์ร่มชูชีพ มาส่งอาจารย์
                                    ตั้งใจฟัง และจดบันทึกขณะที่เพื่อนนำเสนอวิจัย
                                    ตั้งใจดูอาจารย์สาธิตการทำวาฟเฟิล ได้มีส่วนร่วมในการช่วยอาจารย์
                                    เตรียมอุกรณ์ และส่วนผสมต่างๆ ให้ความร่วมมือในการทำวาฟเฟิล
                                    กับเพื่อนในกลุ่ม รู้สึกสนุกมากเพราะได้ร่วมทำกับเพื่อนๆ
                                    เมื่อผสมส่วนประกอบแล้ว  เนื้อขนมสวยงาม และมีกลิ่นหอมมาก
                                    รู้สึกประทับใจมาก เพราะยังไม่เคยทำวาฟเฟิลกินเอง
                                    และได้รู้ว่าไม่ได้ทำยากอย่างที่คิด ^^
>> ประเมินเพื่อน      :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
                                    เพื่อนๆ นำสื่อสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์มาส่งกันครบทุกคน
                                    ตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกมานำเสนอวิจัย และจดบันทึก
                                    เพื่อนๆให้ความร่วมมือ ในการทำวาฟเฟิลเป็นอย่างดี
                                   จึงทำให้ทุกๆคนสนุกสนาน ทำด้วยกัน และทานด้วยกัน
                                   อิ่มอร่อยอยู่แล้วฝีมือพวกเรา^^
>> ประเมินอาจารย์ :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                                   มีเทคนิกการสอนที่เป็นระบบ เมื่อนักศึกษานำสื่อมาส่ง อาจารย์ได้-
                                  ให้นักศึกษาแบ่งประเภทของสื่อ เพื่อให้เข้าใจในหลักการทาง-
                                  วิทยาศาสตร์มากขึ้น อาจารย์ให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
                                  ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง
                                  อาจารย์มีอุปกรณ์ทำวาฟฟเฟิล มาให้นักศึกษา และสาธิตการทำวาฟเฟิล
                                  ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง นับว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดีมากค่ะ ^^
                                



วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันพฤหัสบดีที่ 13 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557


   เนื้อหาที่ได้เรียนวันนี้    

ให้นักศึกษานำเสนอ การสรุปวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้กับเด็กปฐมวัย


1. วิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา  

วัตถุประสงค์
- เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการสังเกตที่ดีขึ้น
- เพื่อให้นักเรียนนำทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
- เกมจับคู่ภาพเหมือน
- เกมจับคู่ภาพกับเงา
- เกมภาพตัดต่อ
- เกมสังเกต 

สรุป
- หลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา มีทักษะการสังเกตสูงขึ้น 

                   การทดลองหลังการฟังนิทาน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน 
- แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

             กิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน  เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจาก
การเล่านิทาน ซึ่งนิทานเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เมื่อฟังนิทานจบ 
เด็กได้ประดิษฐ์ ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง 

ทักษะที่เด็กได้รับ
- การสังเกต  หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
- การจำแนก หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบ และบอกข้อแตกต่าง
                                    ของคุณสมบัติ มีเกณฑ์การแบ่งเป็น 3 ประการ คือ 
                                    ตวามเหมือน, ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ 
- การสื่อสาร หมายถึง  ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การทดลอง 
                                     มุ่งโดยมุ่งสื่อข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น 

3. วิจัยเรื่อง การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะ
                  ต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย

ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาทักษะของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
    การเรียนรู้แบบนักวิจัย 
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
    การเรียนรู้แบบนักวิจัยก่อนทดลอง และหลังการทดลอง 

สรุป
- ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย 
   ทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบ 8 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลอง นำแบบทดสอบ
   กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทดสอบอีกครั้งแล้วนำข้อมูลที่ได้- 
   จากการทดสอบมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ 

- ทักษะการสังเกต 
- ทักษะการจำแนก
- ทักษะมิติสัมพันธ์
- ทักษะการลงความเห็น

คำสำคัญ >> เด็กปฐมวัย
                 >> ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 
                 >> กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ

สรุป :  ก่อนการจัดกิจกรรมเด็กมีความรู้ในระดับปานกลาง
           หลังการจัดกิจกรรมเด็กได้รับความรู้มากขึ้น 

เครื่องมือที่ใช้ 
1. แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ 40 แผน 
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
- ทดสอบวัดการสังเกต
- การจำแนก
- การวัดปริมาณ 
- การหามิติสัมพันธ์
- การลงความเห็น 

สรุป :  เน้นกระบวนการเปิดโอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติทุกขั้นตอน  
           โดยให้เด็กทำแป้งโดเอง แล้วนำแป้งโด มาเล่น ซึ่งสอดคล้องกับ
           การจัดการเรียนการสอนของ จอห์น ดิวอี้ >> Learning by doing

ทักษะที่ได้รับ 
- ทักษะการฟัง 
- ทักษะการสังเกต
- ทักษะการคิดแก้ปัญหา
- ทักษะการใช้เหตุผล

สรุป
- จากการทดลองพบว่า เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณทั้งในภาพรวม
  และรายด้าน สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรม 

    โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  

จุดมุ่งหมาย 
เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กับการจัด
กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ แบบปกติ

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
2. แบบทดสอบวัดความสามารถการคิิดอย่างมีเหตุผล 5 ชุด 

สรุป 
- เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
   แบบปกติ และหลังการทดลอง มีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลแตกต่างกัน
   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5

เทคนิกการสอน

1. ให้นักศึกษาได้สืบค้นหาวิจัยที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเอง 
2. ให้นักศึกษาได้สรุปวิจัย และยกตัวอย่างกิจกรรมที่จัดขึ้น
3. ให้นักศึกษาถ่ายทอดข้อมูลที่ตนเองสรุปจากวิจัย ด้วยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4. อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษานำเสนอการสรุปวิจัยด้วยตนเองก่อน 
   เมื่อนำเสนอเสร็จ อาจารย์จึงให้คำแนะนำต่างๆ ในเนื้อหาข้อมูล กิจกรรมต่างๆ 
   รวมถึงวิธีการนำเสนออย่างเหมาะสม เพื่อให้นักศึกษานำไปปรับใช้ได้อย่างถูกต้อง
5. การใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นความคิดวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์ 
    รวมถึงความกล้าแสดงออก และความมั่นใจในการตอคำถาม

การนำไปประยุกต์ใช้

1. สามารถต่อยอดการจัดกิจกรรมต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ ให้แก่เด็กปฐมวัยได้
   เช่น ให้เด็กๆ พับกระดาษเป็นรูปเรือ ทดสอบว่าเรือลอย หรือจม 
           จากนั้นใส่ลูกแก้วไปทีละลูก เมื่อใส่เพิ่มมากขึ้นจนเรือหนัก ทำให้เรือจมน้ำ 
    ครูต้องให้เด็กได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ให้เด็กได้สังเกต, 
    จำแนกความหนักเบาของเรือ, ตั้งสมมติฐาน, ทดลองด้วยตนเอง และ
    การถ่ายทอดความคิดเห็น 
2. สามารถนำเรื่องใกล้ตัว และสื่อที่หาได้จากท้องถิ่น มาจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ 
   ให้กับเด็กปฐมวัยได้  
3. สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยได้
    อย่างหลากหลาย และบูรณาการในเรื่องราวต่างๆได้ เช่น ทำสีจากดอกไม้
    ให้เด็กได้เก็บดอกไม้ มาตำ ใส่น้ำ แล้วทำเป็นสี เด็กสามารถเรียนรู้เรื่องสี
    จากดอกไม้หลากหลายชนิด ได้ปฏิบัติการทดลองด้วยนเอง 
    สามารถบูรณาการศิลปะได้โดยให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องสี และการผสมสี 
    บูรณาการคณิตศาสตร์โดยให้เด็กได้นับจำนวนดอกไม้ที่นำมาใช้ 
    และปริมาณการเติมน้ำ เพื่อให้เกิดเป็นสีสวยๆ ตามที่ต้องการ 

การประเมินการเรียนการสอน

>> ประเมินตนเอง   : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
                                  เตรียมความพร้อมในการนำเสนอ สรุปข้อมูลของวิจัย 
                                  และยกตัวอย่างกิจกรรม มานำเสนออย่างครบถ้วน 
                                  แต่ต้องปรับปรุงในเรื่องการใช้น้ำเสียงในการนำเสนอให้น่าสนใจ 
                                 จดบันทึกวิจัยที่เพื่อนนำเสนอ, ความรู้, คำแนะนำที่ได้รับจาก
                                 อาจารย์ และจะนำไปปรับปรุง แล้วนำไปใช้ให้ถูกต้องเหมาาะสม
>> ประเมินเพื่อน   : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกรเบียบ
                                เพื่อนที่นำเสนอการสรุปวิจัย บางคนสรุปเนื้อหาได้อย่างครบถ้วน
                                มีการยกตัวอย่างกิจกรรม แต่บางคนก็ยังสรุปไม่ครบทุกขั้นตอน 
                                ยังขาดการยกตัวอย่างกิจกรรมบ้าง และอาจารย์ได้ให้ไปศึกษา
                                หาข้อมูลมาเพิ่ม สำหรับคนที่หาข้อมูลมาไม่ครบ
                                เพื่อนหลายๆคน ตั้งใจฟังการนำเสนอ ฟังคำแนะนำจากอาจารย์ 
                                และมีการจดบันทึกความรู้ที่ได้รับในการเรียน    
>> ประเมินอาจารย์: เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม 
                                 อาจารย์ให้คำแนะนำ ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้แก่
                                 เด็กปฐมวัย อย่างหลากหลาย เพื่อให้นักศึกษาได้คิด 
                                 ได้ประยุกต์การจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม 
                                 ให้เด็กได้เกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้อย่างมี
                                 ประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรม
                                 อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิด เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด ได้ตอบ
                                 ในความคิดของตนเอง สอนสนุกสนาน 
                                 ทำให้บรรยากาศในการเรียนไม่เครียด ได้เรียนอย่างมีความสุข ^^

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิจัย วิทยาศาสตร์

วิจัย วิทยาศาสตร์ 


เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย 

         ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน


ชื่อผู้วิจัย : ศศิพรรณ สำแดงเดช

มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ


 ความสำคัญของการวิจัย
         ผลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ จะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
กับการศึกษาปฐมวัย ได้ตระหนัก และเข้าใจถึงความสำคัญในการส่งเสริมทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ด้วยการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน 
รวมทั้งเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานให้มีความหมาย 
และเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย


                                      ความมุ่งหมายของการวิจัย

       1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด
          กิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อน และหลังการทดลอง
      2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย          
          ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานก่อน และหลังการทดลอง


ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
                   กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กชาย-หญิง 
อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนวัดไทร สำนักงานเขตจอมทอง 
สังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 175 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชายหญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น
                อนุบาลปีที่ 2  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดไทร 
2. การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน หมายถึง การที่เด็กได้ฟังนิทานที่
   เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์จนจบเรื่องโดยการเล่าเรื่องนั้นมีสื่อต่างๆ เช่น 
   ภาพหุ่นประกอบการเล่า เพื่อให้เด็กตั้งใจฟังนิทาน จากนั้นเด็กทำกิจกรรม 
               การทดลองทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเน้นให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งในการสังเกต
               การจำแนกประเภท และการสื่อสาร โดยบรรยายผลการสังเกต ซึ่งเป็น 
               การฝึกฝนทักษะการสังเกต ในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน          
3. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐาน
    ทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทาง
     วิทยาศาสตร์โดยใช้ แบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3 ด้าน ดังนี้ 
3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
3.2 การจำแนก หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบ 
      และบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ โดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่ง มี 3 ประการ
      คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์
3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต 
      การทดลอง โดยมุ่งสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ระยะเวลาการทดลอง
               การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 
ทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที 
ทำการทดลองในช่วงเวลา  08.30 – 09.00. รวม 24 ครั้ง

สรุปผลการวิจัย
               ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวม 
 และรายด้าน คือ ด้านการสังเกต, ด้านการจำแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้ 
 หลังจากการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทานโดดยรวมอยู่ในระดับดี และรายด้านคือ 
ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจำแนก และการสื่อสารอยู่ในระดับดี