วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14


วันพฤหัสที่ 20 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557


 เนื้อหา และกิจกรรมที่ได้เรียนวันนี้   


วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ มาส่งอาจารย์ 

โดยมีการจัดวางสื่อให้เป็นหมวดหมู่^^


เกิดจากจุดศูนย์ถ่วง



เกิดจากแรงดันลม หรืออากาศ ที่กระทบกับวัตถุ ทำให้วัตถุเคลื่อนที่



สื่อที่ทำให้เกิดเสียงต่างๆ



เกิดจากพลังงาน หรือแรง 



สื่อที่สำหรับจัดให้เด็กได้เข้าไปเล่นตามมุม 



สปริงเกอร์ เกิดจากแรงดันของน้ำ ทำให้น้ำพุ่งขึ้น 


การนำเสนอวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย



ทักษะทางวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ดังนี้


                                    1. การสังเกต                                         4. การหามิติสัมพันธ์
                                    2. การจำแนก                                        5.การสื่อสาร 
                                    3. การวัด                                               6. การลงความเห็น


รูปแบบศิลปสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้


                                   1. ศิลปะย้ำ                                             4. ศิลปะถ่ายโยง
                                   2. ศิลปะปรับภาพ                                   5. ศิลปะบูรณาการ
                                   3. ศิลปะเลียนแบบ                                 6. ศิลปะค้นหา


สรุปผลการวิจัย

                       เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ประกอบการบันทึก 
มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงกว่าก่อนการทดลอง
                       ความสามารถในการบันทึก เมื่อเด็กได้รับการฝึกทุกครั้งหลังจากการทำกิจกรรม 
เด็กบางคนสามารถจดรายละเอียดของกิจกรรมได้ทั้งหมด และสามารถเล่าจากผลงานได้
อย่างสอดคล้องกับภาพที่วาด


วัตถุประสงค์ 

                          เพื่อศึกษาการจำแนกของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดประสบการณ์
             โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้

สรุปผลการจัดกิจกรรม

                    เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
มีคะแนนทักษะการจำแนกหลังได้รับการจัดประสบการณ์ โดยการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์โดยการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้

4. วิจัยเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้-
                   กิจกรรมมุ่งเน้นทัักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์
                   อย่างมีแบบแผน

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ดังนี้ 

                                 1. การสังเกกต                                   4. การหามิติสัมพันธ์
                                 2. การจะแนก                                     5. การสื่อความหมาย
                                 3. การแสดงปริมาณ                          6. การลงความเห็น

สรุปผลการวิจัย 

                    จากการศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์
จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่าง
มีแบบแผน และเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ หลังการทดลองที่สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง

^^ มาทำวาฟเฟิลกันเถอะ ^^

อุปกรณ์ และส่วนผสมมีดังนี้

                                 1. ที่ตีไข่ (Whisk)
                                 2. ชาม    (Dish)
                                 3. ถ้วย    (Cup)
                                 4. จาน    (Plate)
                                 5. ช้อน   (Spoon)
                                 6. แป้งวาฟเฟิล  (Waffles flour)
                                 7. ไข่ไก่  (Egg)
                                 8. น้ำ       (Water)
                                 9. เนย     (Butter)
                                10. เตาอบวาฟเฟิล  (Waffles oven)

ขั้นตอนการสอนทำวาฟเฟิล 


1. ครูนำอุปกรณ์ที่เตรียมมา (อาจให้เด็กนำมาจากบ้าน) ให้เด็กๆสังเกต โดยครูบอกว่ามีอุปกรณ์ 
    และส่วนผสมอะไรบ้าง 
2.ครูสาธิตให้เด็กๆดู การทำวาฟเฟิล ทีละขั้นตอน
3. ให้ตัวแทนกลุ่มละ 1 คน มาช่วยครูจัดอุปกรณ์ ให้ครบทุกกลุ่ม แล้วรับอุปกรณ์ไปทำวาฟเฟิล
4. เด็กๆทำวาฟเฟิลทีละขั้นตอน โดยเริ่มจาก
    - ตอกไข่ลงในชาม จากนั้นตีไข่
    - ใส่เนยลงไป จากนั้นตีทั้งไข่ และเนยให้เข้ากัน
    - ค่อยๆเทแป้งลงไป พร้อมกับใส่น้ำทีละนิด จากนั้นตีให้เป็นเนื้อเดียวกัน
    - ตักใส่ถ้วยเล็กๆ
    - เทลงเตาอบวาฟเฟล ปิดฝาเตาให้เรียบร้อย จากนั้นรอจนสุก
    - เมื่อสุกแล้ว ตักออกมาใส่จานพร้อมรับประทานแล้วค้ะ ^^

                                                    


                                                


เทคนิกการสอน


1. การให้นักศึกษาได้สืบค้น และสรุปวิจัยด้วยตนเอง พร้อมถ่ายทอดให้เพื่อน และอาจารย์เข้าใจได้
2. อาจารย์ให้คำแนะนำ หลังจากการนำเสนอวิจัย เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจวิจัยที่ได้สืบค้นมา
3. ทักษะการสรุปวิจัย
4. ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทั้งการพูด และบุคคลิกภาพที่เหมาะสม
5. การใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาได้คิด และกล้าแสดงความคิดเห็นของตนเอง
6. ทักษะการสาธิตขั้นตอนการทำวาฟเฟิล
7. เทคนิกในการสอนทำวาฟเฟลให้กับเด็กปฐมวัย ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เช่น
    ครูอธิบายอุปกรณ์ และสาธิตขั้นตอนการทำวาฟเฟิลให้เด็กๆได้สังเกตก่อนการปฏิบัติจริง,
    มีการให้เด็กๆแบ่งกลุ่ม เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายในการสอน  เป็นต้น
8. ให้นักศึกษาได้ลงมือ และปฏิบัติจริง เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการทำได้มากขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้


1. สามารถจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยได้มากขึ้น เช่น
    การจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ สามารถจัดได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น ได้แก่  ศิลปะย้ำ,
    ศิลปะปรับภาพ, ศิลปะเลียนแบบ, ศิลปะถ่ายโยง, ศิลปะบูรณาการ และ ศิลปะค้นหา 
2. สามารถนำวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย จากท้องถิ่นมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่
    เด็กปฐมวัยได้ เช่น การพิมภาพด้วยใบไม้ หรือนำกิ่งไม้มาประดิษฐ์ได้ 
3. สามารถนำกิจกรรมจากที่เพื่อนมานำเสนอวิจัย มาจัดทำแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
4. สามารถสอนเด็กๆ ทำวาฟเฟิลได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน ครูจะต้องสาธิตให้เด็กๆได้เข้าใจ
    การทำก่อน และมีการให้เด็กๆจับกลุ่มช่วยกันทำ จะทำให้การเรียนการสอนไม่เกิดความวุ่นวาย 
5. ในการทำวาฟเฟิล สามารถเพิ่มส่วนผสมที่ตนเองชอบ ลงไปด้วยได้ เช่น ข้าวโพด, ลูกเกด, 
    ผงโอวัลติน หรืออาจโรยหน้าด้วยช็อกโกแลต ได้ตามต้องการ ^^ 
6. สามารถนำการสอนทำวาฟเฟิล ไปต่อยอดในการสอนเด็กๆทำอาหารอื่นๆได้มากขึ้น

การประเมินการเรียนการสอน   

 

>> ประเมินตนเอง    :   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
                                    นำสื่อสิ่งประดิษฐ์ร่มชูชีพ มาส่งอาจารย์
                                    ตั้งใจฟัง และจดบันทึกขณะที่เพื่อนนำเสนอวิจัย
                                    ตั้งใจดูอาจารย์สาธิตการทำวาฟเฟิล ได้มีส่วนร่วมในการช่วยอาจารย์
                                    เตรียมอุกรณ์ และส่วนผสมต่างๆ ให้ความร่วมมือในการทำวาฟเฟิล
                                    กับเพื่อนในกลุ่ม รู้สึกสนุกมากเพราะได้ร่วมทำกับเพื่อนๆ
                                    เมื่อผสมส่วนประกอบแล้ว  เนื้อขนมสวยงาม และมีกลิ่นหอมมาก
                                    รู้สึกประทับใจมาก เพราะยังไม่เคยทำวาฟเฟิลกินเอง
                                    และได้รู้ว่าไม่ได้ทำยากอย่างที่คิด ^^
>> ประเมินเพื่อน      :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
                                    เพื่อนๆ นำสื่อสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์มาส่งกันครบทุกคน
                                    ตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกมานำเสนอวิจัย และจดบันทึก
                                    เพื่อนๆให้ความร่วมมือ ในการทำวาฟเฟิลเป็นอย่างดี
                                   จึงทำให้ทุกๆคนสนุกสนาน ทำด้วยกัน และทานด้วยกัน
                                   อิ่มอร่อยอยู่แล้วฝีมือพวกเรา^^
>> ประเมินอาจารย์ :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                                   มีเทคนิกการสอนที่เป็นระบบ เมื่อนักศึกษานำสื่อมาส่ง อาจารย์ได้-
                                  ให้นักศึกษาแบ่งประเภทของสื่อ เพื่อให้เข้าใจในหลักการทาง-
                                  วิทยาศาสตร์มากขึ้น อาจารย์ให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
                                  ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง
                                  อาจารย์มีอุปกรณ์ทำวาฟฟเฟิล มาให้นักศึกษา และสาธิตการทำวาฟเฟิล
                                  ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง นับว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดีมากค่ะ ^^
                                



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น