วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิจัย วิทยาศาสตร์

วิจัย วิทยาศาสตร์ 


เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย 

         ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน


ชื่อผู้วิจัย : ศศิพรรณ สำแดงเดช

มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ


 ความสำคัญของการวิจัย
         ผลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ จะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
กับการศึกษาปฐมวัย ได้ตระหนัก และเข้าใจถึงความสำคัญในการส่งเสริมทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ด้วยการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน 
รวมทั้งเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานให้มีความหมาย 
และเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย


                                      ความมุ่งหมายของการวิจัย

       1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด
          กิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อน และหลังการทดลอง
      2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย          
          ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานก่อน และหลังการทดลอง


ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
                   กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กชาย-หญิง 
อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนวัดไทร สำนักงานเขตจอมทอง 
สังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 175 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชายหญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น
                อนุบาลปีที่ 2  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดไทร 
2. การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน หมายถึง การที่เด็กได้ฟังนิทานที่
   เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์จนจบเรื่องโดยการเล่าเรื่องนั้นมีสื่อต่างๆ เช่น 
   ภาพหุ่นประกอบการเล่า เพื่อให้เด็กตั้งใจฟังนิทาน จากนั้นเด็กทำกิจกรรม 
               การทดลองทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเน้นให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งในการสังเกต
               การจำแนกประเภท และการสื่อสาร โดยบรรยายผลการสังเกต ซึ่งเป็น 
               การฝึกฝนทักษะการสังเกต ในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน          
3. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐาน
    ทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทาง
     วิทยาศาสตร์โดยใช้ แบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3 ด้าน ดังนี้ 
3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
3.2 การจำแนก หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบ 
      และบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ โดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่ง มี 3 ประการ
      คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์
3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต 
      การทดลอง โดยมุ่งสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ระยะเวลาการทดลอง
               การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 
ทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที 
ทำการทดลองในช่วงเวลา  08.30 – 09.00. รวม 24 ครั้ง

สรุปผลการวิจัย
               ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวม 
 และรายด้าน คือ ด้านการสังเกต, ด้านการจำแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้ 
 หลังจากการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทานโดดยรวมอยู่ในระดับดี และรายด้านคือ 
ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจำแนก และการสื่อสารอยู่ในระดับดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น