บทความวิทยาศาสตร์
ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา
เรืองรอง
อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ระดับ : อนุบาลหมวด: เกี่ยวกับอนุบาล
บทนำ
การสอนลูกเรื่องเสียง (Teaching Children about Sound) หมายถึง
การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับคลื่นที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ
เมื่อวัตถุสั่นสะเทือนทำให้เกิดการขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่ง
ผ่านตัวกลางคืออากาศไปยังหู เสียงผ่าน ก๊าซ ของเหลว และของแข็งได้
เสียงจะมีระดับเสียงหลายระดับที่แตกต่างกัน ได้แก่ เสียงสูง กลาง ต่ำ ดัง เบา
ทั้งนี้ เสียงจะเกี่ยวข้องกับอวัยวะของตัวเรา คือ หู
ซึ่งเป็นประสาทสัมผัสสำคัญส่วนหนึ่งของมนุษย์ ใช้ฟังเพื่อการสื่อสาร
คนเรารับรู้เสียงได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา เมื่อได้รับการกระตุ้นจากเสียง
เพลง เสียงพ่อแม่พูดคุยด้วย นักวิจัยเกี่ยวกับสมองกล่าวว่า
ทารกจะพัฒนาระบบการได้ยิน และระบบสมองที่เกี่ยวกับการได้ยิน (Tonotopic
map)
ครูสอนเรื่องเสียงให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร?
·
กิจกรรมเคลื่อนไหว และจังหวะ
ใช้เครื่องดนตรีประกอบกิจกรรม เครื่องดนตรีที่ครูนำมาใช้ อาจเลือกได้ทั้งเครื่อง
ดีด สี ตี เป่า เสียงดนตรีจากเครื่องดนตรีแต่ละชนิดจะให้เสียงแตกต่างกันไป
เด็กได้ยินเสียงดนตรีพร้อมกับครูแนะนำชื่อเครื่องดนตรีให้เด็กได้รู้จัก
·
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
การจัดกิจกรรมเรื่องเสียง เป็นสาระความรู้ที่เด็กเรียนผ่านทักษะพื้นฐานทางวิทยา
ศาสตร์ ทักษะทางสังคม ทักษะทางภาษา ตลอดจนเทคโนโลยีง่ายๆที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก
·
กิจกรรมสร้างสรรค์
เด็กๆจะมีความสนุกสนานเมื่อเรียนผ่านการเล่น
เมื่อทำกิจกรรมสร้างสรรค์ท่ามกลางเสียง ดนตรีบรรเลง เด็กๆจะปั้นดิน วาดภาพระบายสี
สะบัดสี พิมพ์ภาพ หยดสี หยดเทียน โรยทราย ขยำกระดาษ ตามจัง หวะเสียงที่เขาได้ยิน
เป็นงานที่สร้างสรรค์ตามจินตนาการของเด็ก
·
กิจกรรมกลางแจ้ง
ให้เด็กได้เล่นผ่านเกมที่ใช้เสียง เช่น เกมปิดตาตามหาเพื่อน วิธีเล่นคือ
ให้ผ้าเช็ดหน้าที่สะอาดปิดตา
ส่วนเพื่อนที่เหลือจับมือเป็นวงกลมร้องเพลงหรือท่องคำคล้องจองว่า “เพื่อนเอยมาทางนี้ ทายดูซิคนนี้คือใคร” ผู้ที่ปิดตาจะเดินตรงไปหาเพื่อน เมื่อจับตัวเพื่อนไว้ แล้วให้ถามว่า
เธอคือใคร ผู้ที่ถูกจับตัวจะต้องตอบว่า ฉันคือเพื่อนที่แสนดี
เด็กที่ปิดตาจะต้องทายว่าผู้พูดชื่ออะไร ถ้าทายถูก
เพื่อนคนนั้นจะต้องมาเป็นผู้ปิดตาแทน
·
เกมการศึกษา
ฝึกประสาทหูด้านการฟังจากเกมง่ายๆ เช่น
จับคู่ภาพเครื่องดนตรีกับเสียงดนตรีที่ได้ยิน ภาพคนวัยแตกต่างกันกับเสียงต่างๆ
(เสียงร้องไห้ หรือ หัวเราะ) จับคู่เสียงที่มาจากวัสดุเดียวกัน
·
กิจกรรมเสรี
การสอนเรื่องเสียงมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
· เด็กได้รับความรู้เรื่องเสียงที่ได้ยิน
เป็นเสียงจากอะไร เป็นเรื่องราวที่อยู่ใกล้ตัวเด็กที่ควรรู้ เช่น เสียงของคน สัตว์
คลื่นลม ฝน น้ำไหล เสียงที่เกิดจากการกระทบของวัตถุต่างๆ
แต่ละเสียงบ่งบอกความหมายด้วยเช่นกัน เช่นเสียงลมที่พัดแรงพัดกระทบกิ่งไม้ หรือ
น้ำทะเล แสดงถึงภัยอันตราย เสียงสุนัขเห่ากระโชกบอกถึงความดุร้าย
·
เด็กจะเห็นคุณค่าและโทษของเสียง
สิ่งที่เป็นธรรมชาติย่อมมีคุณและโทษเสมอ คนเราจึงที่ควรเรียนเพื่อเสริม
สร้างประสบการณ์ ใช้เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติตนในการดำรงชีวิตต่อไป เช่น
เสียงที่เราพูดจา ทำให้เราสามารถติด ต่อกันจนเกิดเป็นสังคมของมนุษย์
เสียงดนตรีสร้างอารมณ์ความสุข เสียงจึงมีคุณค่าต่อคนเรา
แต่ขณะเดียวกันหากเสียงดังมากไป อาจจะทำให้อันตรายต่อเยื่อแก้วหูของเรา
คือทำให้เกิดการฉีกขาดของเยื่อแก้วหู และหูหนวกจนไม่ได้ยินเสียงได้
·
เด็กได้เรียนรู้ธรรมชาติของเสียงด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เพื่อฝึกความคิดเชิงเหตุผล และปลุกฝังจิตวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กเป็นผู้ใฝ่รู้
ใฝ่เห็น กระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้ มีความสุขและความสนุกที่ทำงานร่วมกับผู้
อื่น เช่น ฝึกการสังเกตและจำแนกเสียงสัตว์ เสียงวัตถุต่างชนิดกระทบกระแทกกันย่อมมีเสียงแตกต่างกัน
การสังเกตจากประสาทหู
เป็นทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญประการหนึ่งที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก
ดังนั้นการที่เด็กจะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือ
ทักษะการสังเกต ทักษะจำแนก ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความ หมาย
และทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูลได้นั้น ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็ก
ได้สืบค้นจากเรื่องเสียง ให้เกิดประโยชน์ดังที่กล่าวมาแล้วได้เป็นอย่างดี
·
การติดต่อสื่อสารในสังคมของคนเรา
เสียงใช้สื่อความหมายที่ทำให้เข้าใจความต้องการ เด็กๆได้รับการฝึกฝนการใช้เสียงเพื่อการเข้าสังคมที่เหมาะสม
เช่นการเปล่งเสียงเบาและนุ่มนวล จะให้ความรู้สึกถึงจิตใจที่อ่อนโยน
จึงเป็นที่รักและการยอมรับในสังคมหรือเป็นมารยาททางสังคมที่เหมาะสม
แต่จะแตกต่างจากเสียงตะโกนดังๆ หรือที่เรียกว่าตะคอกนั้น จะไม่เป็นที่สบอารมณ์ของผู้ฟัง
เป็นต้น การอบรมบ่มนิสัยเด็กให้ใช้เสียงเหมาะแก่กาลเทศะจึงเป็นการเสริมสร้างคุณลักษณะนิสัยของเด็ก
เกร็ดความรู้เพื่อครู
·
เสียงธรรมชาติที่ทำให้เด็กๆตกใจ
เกิดความหวาดกลัว คือเสียง ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า
ครูควรเข้าใจสาเหตุของการเกิดเช่นนั้นว่า เสียงฟ้าผ่าเป็นเสียงที่เราได้ยินการสั่นสะเทือนของอากาศที่อยู่สูงขึ้นไปในก้อนเมฆ
ซึ่งเกิดจากการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
·
เครื่องบินเจ็ทเป็นเครื่องบินที่เคลื่อนที่รวดเร็วมาก
บางครั้งจะเกิดการชนกับอากาศที่อยู่ข้างหน้า
ซึ่งกำลังสะเทือนอยู่แล้วจากเสียงของเครื่องบิน เสียงนั้นเดินทางเร็วอยู่แล้ว
แต่เครื่องบินเจ็ทบินเร็วกว่า
คนที่อยู่ข้างล่างจึงได้ยินเสียงที่ชนกันเหมือนเสียงระเบิดของอากาศดังลั่นไปหมด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น