วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 


วันพฤหัสบดีที่ 30 เดือนตุลาคม พ.ศ.2557


      เนื้อหาที่เรียนวันนี้ มีดังนี้       


สาระที่ควรรู้  >> ธรรมชาติรอบตัว
                       >> บุคคล และสถานที่ 
                       >> เกี่ยวกับตัวเอง 
                       >> สิ่งต่างๆ รอบตัว 

ประสบการณ์สำคัญ :  ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เพราะเด็กได้ลงมือกระทำ
                                        และได้เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม 

กระบวนการทดลอง >>  กำหนดปัญหา
                                    >>  ตั้งสมมติฐาน
                                    >>  ทดลอง

ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >> การสังเกต
                                         >> การจำแนกประเภท
                                         >> การวัด
                                         >> การหาความสัมพันธ์
                                         >> การลงความเห็นจากข้อมูล 
                                         >> การพยากรณ์
                                         >> การคำนวณ


  การทดลอง

การทดลองที่ 1 ปั้นดินน้ำมันเป็นลูกกลมๆ เมื่อนำลงไปในโหลที่ใส่น้ำไว้ 
                           สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ดินน้ำมันจะจมลงไปในน้ำ
                           
ลักษณะดินน้ำมันที่ปั้นเป็นรูปทรงกลม


การทดลองที่ 2 ปั้นดินน้ำมันรูปเรือ หรือรูปถ้วยที่มีความบางไม่หนาเกินไป 
                           เมื่อนำลงไปในโหลที่ใส่น้ำ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ดินน้ำมันจะลอยน้ำ
                           เพราะมีความบาง ไม่หนักแบบรูปทรงกลม 


ภาพลักษณะดินน้ำมันที่ปั้นเป็นรูปเรือ


ภาพดินน้ำมันที่ปั้นเป็นรูปเรือ มีทั้งที่จม และลอย
เรือที่มีความบางจะลอย ส่วนเรือที่มีความหนา จะจม  


การทดลองที่ 3  ตัดกระดาษรูปดอกไม้ แล้วตกแต่งให้สวยงาม จากนั้นพับกลีบ
                            เมื่อนำลงไปในโหลที่ใส่น้ำ กลีบดอกไม้จะค่อยๆ บาน 
                            ซึ่งเกิดจากการดูดซึมน้ำ ถ้าใช้กระดาษร้อยปอร์น น้ำจะซึมช้า 
                            แต่ถ้าใช้กระดาษ A4 น้ำจะซึ้มเร็ว จึงทำให้ดอกไม้ที่ทำจาก
                            กระดาษ A4 บานเร็วกว่า กระดาษร้อยปอร์น




การทดลองที่ 4  เจาะรูที่ขวดน้ำ 3 รู ตามแนวตั้งของขวด ปิดเทปไว้ที่รู 
                             แล้วใส่น้ำลงไปในขวด เกือบเต็มขวด
         1. ทดสอบเปิดเทปรูที่ 1 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำไหลออกมาค่อยๆ
         2. ทดสอบเปิดเทปรูที่ 2 สิ่งท่เกิดขึ้นคือ น้ำไหลออกมาแรงกว่ารูที่ 1 
         3. ทดสอบเปิดเทปรูที่ 3 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำไหลออกมาแรงกว่า รูที่ 1 และ 2
 >> สรุป คือ รูลำดับล่างสุด น้ำไหลแรงที่สุด เพราะมีแรงดันอากาศมาก

ภาพการไหลของน้ำ ออกจากรู  


การทดลองที่ 5  นำขวดน้ำมาเจาะรูที่ก้นขวด จากนั้นใส่น้ำลงไปในขวด
                            เมื่อปิดฝาขวด น้ำจะไม่ไหลออกจากรูที่ก้นขวด เพราะไม่มีอากาศ 
                            แต่ถ้าเปิดฝาขวด น้ำจะใหลออกทางรูที่ก้นขวด เพราะมีอากาศ 

ภาพการไหลของน้ำออกจาดรู หากมีอากาศเข้า
และไม่มีอากาศเข้า

การทดลองที่ 6  เจาะรู 1 รู ที่ขวดน้ำ ต่อสายยาง แล้วปลายสายยางมีถ้วยรองรับรับ
                            ถ้าขวดน้ำอยู่สูงกว่าถ้วยที่รองรับน้ำ 
                            สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำจะไหลจากขวดน้ำ ลงสู่ถ้วยรองรับ
                            ถ้าบวดน้ำอยู่ต่ำกว่าถ้วยที่รองรับน้ำ
                            สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำจะไม่ไหล
>> สรุป คือ น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ 

                           

ภาพการไหลของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ


การทดลองที่ 7  จุดเทียน จากนั้นนำแก้วมาคอบ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ไฟที่เทียนดับ
                            เพราะควันของเทียนไม่มีอากาศถ่ายเท 

ภาพการคอบแก้ว ทำให้เทียนค่อยๆ ดับลง
           

การทดลองที่ 8  จุดเทียนแล้วนำเทียนตั้งไว้ในจาน แล้วคอบแก้วลงไปในเทียน
                            จากนั้นใส่น้ำลงไปในจาน 
                            สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ไฟดับ และน้ำเข้าไปอยู่ในแก้ว





การทดลองที่ 9 ใส่น้ำลงไปในแก้ว แล้วนำดินสอใส่ลงไปในแก้ว
                           สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราจะมองดินสอที่อยู่ในน้ำมีขนาดใหญ่กว่า 
                           ส่วนที่อยู่เหนือน้ำ 






>> สรุป คือ เกิดจากการหักเหของแสง ทำให้เห็นวัตถุที่อยู่ใต้น้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น 
                    สามารถใช้คุณสมบัติของน้ำ มาสอนเด็กได้ เช่น แว่นขยาย


เทคนิกการสอน
1. ให้นักศึกษาได้ตั้งสมมติฐาน และทดลองด้วยตนเอง 
2. มีอุปกรณ์ที่สามารถทดลองได้หลากหลายการทดลอง 
3. เป็นการทดลองง่ายๆ ไม่ซับซ้อน สามารถนำไปสอนแก่เด็กปฐมวัยได้ 
4. ทักษะการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นความคิด 
5. ทักษะการคิดววิเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์


การนำไปประยุกต์ใช้ 

1. สามารถนำวิธีการ และขั้นตอนการทดลองไปสอนแก่เด็กปฐมวัยๆ ได้ 
2. สามารถจัดประสบการณ์ ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยได้ 
    ซึ่งเป็นเรื่องรอบตัวของเด็กๆ 
3. ในการสอนครูต้องระวังความปลอดภัย เช่น การทดลองที่ต้องใช้น้ำ 
    ต้องระวังน้ำหก และระวังเด็กลื่นล้ม หากน้ำหกออกมา 
4. สามารถสอนการทดลองต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย 
    และสามารถบูรณาการในเรื่องต่างๆ ได้ เช่นการทดลอง เมื่อคอบแก้วแล้วเทียนดับ
    สามารถบูรณาการได้โดย สอนให้เด็กเข้าใจถึงการดใช้พลังงาน และเด็กสามารถ
    บอกกับพ่อ แม่ ถึงเรื่อง การดับเครื่องยนต์ ทำให้ลดการใช้พลังงาน เป็นต้น


การประเมินการเรียนการสอน

>> ประเมินตนเอง     : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
                                    ตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรมการทดลองอย่างสนใจ
                                    เพราะการทดลองบางอย่าง ยังไม่เคยทดลอง และยังไม่รู้ 
                                    เมื่อได้ทดลองจริง รู้สึกตื่นเต้น และได้รับความรู้มากขึ้น 
                                    จดบันทึกทุกการทดลอง และเนื้อหาที่อาจารย์สอน 
>> ประเมินเพื่อน       : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ 
                                    เพื่อนทุกคนร่วมมือ และตั้งใจในการทดลองทุกขั้นตอน 
                                    เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ทักษะต่างๆ และการนำไปสอนเด็กๆ 
                                    จดบันทึกเนื้อหาทีได้เรียน สนุกสนานในการทำกิจกรรม
>> ประเมินอาจารย์   : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม
                                    มีเทคนิกการสอนที่สนุกสนาน มีการทดลองที่หลากหลาย 
                                    และแปลกใหม่ ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษา
                                    ได้คิด และตอบคำถาม  อาจารย์อธิบายถึงหลักการทาง
                                    วิทยาศาสตร์ และสรุปถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหลังการทดลอง 
                                    เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น