วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 


วันพฤหัสบดีที่ 30 เดือนตุลาคม พ.ศ.2557


      เนื้อหาที่เรียนวันนี้ มีดังนี้       


สาระที่ควรรู้  >> ธรรมชาติรอบตัว
                       >> บุคคล และสถานที่ 
                       >> เกี่ยวกับตัวเอง 
                       >> สิ่งต่างๆ รอบตัว 

ประสบการณ์สำคัญ :  ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เพราะเด็กได้ลงมือกระทำ
                                        และได้เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม 

กระบวนการทดลอง >>  กำหนดปัญหา
                                    >>  ตั้งสมมติฐาน
                                    >>  ทดลอง

ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >> การสังเกต
                                         >> การจำแนกประเภท
                                         >> การวัด
                                         >> การหาความสัมพันธ์
                                         >> การลงความเห็นจากข้อมูล 
                                         >> การพยากรณ์
                                         >> การคำนวณ


  การทดลอง

การทดลองที่ 1 ปั้นดินน้ำมันเป็นลูกกลมๆ เมื่อนำลงไปในโหลที่ใส่น้ำไว้ 
                           สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ดินน้ำมันจะจมลงไปในน้ำ
                           
ลักษณะดินน้ำมันที่ปั้นเป็นรูปทรงกลม


การทดลองที่ 2 ปั้นดินน้ำมันรูปเรือ หรือรูปถ้วยที่มีความบางไม่หนาเกินไป 
                           เมื่อนำลงไปในโหลที่ใส่น้ำ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ดินน้ำมันจะลอยน้ำ
                           เพราะมีความบาง ไม่หนักแบบรูปทรงกลม 


ภาพลักษณะดินน้ำมันที่ปั้นเป็นรูปเรือ


ภาพดินน้ำมันที่ปั้นเป็นรูปเรือ มีทั้งที่จม และลอย
เรือที่มีความบางจะลอย ส่วนเรือที่มีความหนา จะจม  


การทดลองที่ 3  ตัดกระดาษรูปดอกไม้ แล้วตกแต่งให้สวยงาม จากนั้นพับกลีบ
                            เมื่อนำลงไปในโหลที่ใส่น้ำ กลีบดอกไม้จะค่อยๆ บาน 
                            ซึ่งเกิดจากการดูดซึมน้ำ ถ้าใช้กระดาษร้อยปอร์น น้ำจะซึมช้า 
                            แต่ถ้าใช้กระดาษ A4 น้ำจะซึ้มเร็ว จึงทำให้ดอกไม้ที่ทำจาก
                            กระดาษ A4 บานเร็วกว่า กระดาษร้อยปอร์น




การทดลองที่ 4  เจาะรูที่ขวดน้ำ 3 รู ตามแนวตั้งของขวด ปิดเทปไว้ที่รู 
                             แล้วใส่น้ำลงไปในขวด เกือบเต็มขวด
         1. ทดสอบเปิดเทปรูที่ 1 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำไหลออกมาค่อยๆ
         2. ทดสอบเปิดเทปรูที่ 2 สิ่งท่เกิดขึ้นคือ น้ำไหลออกมาแรงกว่ารูที่ 1 
         3. ทดสอบเปิดเทปรูที่ 3 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำไหลออกมาแรงกว่า รูที่ 1 และ 2
 >> สรุป คือ รูลำดับล่างสุด น้ำไหลแรงที่สุด เพราะมีแรงดันอากาศมาก

ภาพการไหลของน้ำ ออกจากรู  


การทดลองที่ 5  นำขวดน้ำมาเจาะรูที่ก้นขวด จากนั้นใส่น้ำลงไปในขวด
                            เมื่อปิดฝาขวด น้ำจะไม่ไหลออกจากรูที่ก้นขวด เพราะไม่มีอากาศ 
                            แต่ถ้าเปิดฝาขวด น้ำจะใหลออกทางรูที่ก้นขวด เพราะมีอากาศ 

ภาพการไหลของน้ำออกจาดรู หากมีอากาศเข้า
และไม่มีอากาศเข้า

การทดลองที่ 6  เจาะรู 1 รู ที่ขวดน้ำ ต่อสายยาง แล้วปลายสายยางมีถ้วยรองรับรับ
                            ถ้าขวดน้ำอยู่สูงกว่าถ้วยที่รองรับน้ำ 
                            สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำจะไหลจากขวดน้ำ ลงสู่ถ้วยรองรับ
                            ถ้าบวดน้ำอยู่ต่ำกว่าถ้วยที่รองรับน้ำ
                            สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำจะไม่ไหล
>> สรุป คือ น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ 

                           

ภาพการไหลของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ


การทดลองที่ 7  จุดเทียน จากนั้นนำแก้วมาคอบ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ไฟที่เทียนดับ
                            เพราะควันของเทียนไม่มีอากาศถ่ายเท 

ภาพการคอบแก้ว ทำให้เทียนค่อยๆ ดับลง
           

การทดลองที่ 8  จุดเทียนแล้วนำเทียนตั้งไว้ในจาน แล้วคอบแก้วลงไปในเทียน
                            จากนั้นใส่น้ำลงไปในจาน 
                            สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ไฟดับ และน้ำเข้าไปอยู่ในแก้ว





การทดลองที่ 9 ใส่น้ำลงไปในแก้ว แล้วนำดินสอใส่ลงไปในแก้ว
                           สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราจะมองดินสอที่อยู่ในน้ำมีขนาดใหญ่กว่า 
                           ส่วนที่อยู่เหนือน้ำ 






>> สรุป คือ เกิดจากการหักเหของแสง ทำให้เห็นวัตถุที่อยู่ใต้น้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น 
                    สามารถใช้คุณสมบัติของน้ำ มาสอนเด็กได้ เช่น แว่นขยาย


เทคนิกการสอน
1. ให้นักศึกษาได้ตั้งสมมติฐาน และทดลองด้วยตนเอง 
2. มีอุปกรณ์ที่สามารถทดลองได้หลากหลายการทดลอง 
3. เป็นการทดลองง่ายๆ ไม่ซับซ้อน สามารถนำไปสอนแก่เด็กปฐมวัยได้ 
4. ทักษะการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นความคิด 
5. ทักษะการคิดววิเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์


การนำไปประยุกต์ใช้ 

1. สามารถนำวิธีการ และขั้นตอนการทดลองไปสอนแก่เด็กปฐมวัยๆ ได้ 
2. สามารถจัดประสบการณ์ ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยได้ 
    ซึ่งเป็นเรื่องรอบตัวของเด็กๆ 
3. ในการสอนครูต้องระวังความปลอดภัย เช่น การทดลองที่ต้องใช้น้ำ 
    ต้องระวังน้ำหก และระวังเด็กลื่นล้ม หากน้ำหกออกมา 
4. สามารถสอนการทดลองต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย 
    และสามารถบูรณาการในเรื่องต่างๆ ได้ เช่นการทดลอง เมื่อคอบแก้วแล้วเทียนดับ
    สามารถบูรณาการได้โดย สอนให้เด็กเข้าใจถึงการดใช้พลังงาน และเด็กสามารถ
    บอกกับพ่อ แม่ ถึงเรื่อง การดับเครื่องยนต์ ทำให้ลดการใช้พลังงาน เป็นต้น


การประเมินการเรียนการสอน

>> ประเมินตนเอง     : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
                                    ตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรมการทดลองอย่างสนใจ
                                    เพราะการทดลองบางอย่าง ยังไม่เคยทดลอง และยังไม่รู้ 
                                    เมื่อได้ทดลองจริง รู้สึกตื่นเต้น และได้รับความรู้มากขึ้น 
                                    จดบันทึกทุกการทดลอง และเนื้อหาที่อาจารย์สอน 
>> ประเมินเพื่อน       : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ 
                                    เพื่อนทุกคนร่วมมือ และตั้งใจในการทดลองทุกขั้นตอน 
                                    เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ทักษะต่างๆ และการนำไปสอนเด็กๆ 
                                    จดบันทึกเนื้อหาทีได้เรียน สนุกสนานในการทำกิจกรรม
>> ประเมินอาจารย์   : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม
                                    มีเทคนิกการสอนที่สนุกสนาน มีการทดลองที่หลากหลาย 
                                    และแปลกใหม่ ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษา
                                    ได้คิด และตอบคำถาม  อาจารย์อธิบายถึงหลักการทาง
                                    วิทยาศาสตร์ และสรุปถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหลังการทดลอง 
                                    เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น


วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

      วันเสาร์ที่ 18 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557


                        บทเรียนในวันนี้ อาจารย์สอนให้เรื่องการเขียนแผนการสอน
ในหน่วยที่จะสอน ของแต่ละกลุ่ม ได้แก่
หน่วยกล้วย, หน่วยข้าว, หน่วยนม, หน่วยปลา, หน่วยน้ำ, หน่วยต้นไม้, หน่วยกบ, หน่วยผลไม้,
หน่วยมะพร้าว และหน่วยไก่

                        การเขียนแผนการสอนนั้น ต้องเขียนให้ตรงกับสิ่งที่จะสอน ไม่เขียนเกิน หรือเขียนน้อยกว่าที่จะสอน การเขียนจะต้องครอบคลุมให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิภาพ ได้รับประสบการณ์ และพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย 

 เทคนิกการสอน


1. ให้นักศึกษาได้ระดมความคิด ในการเขียนเป็นแผนผังความคิด หน่วยการสอนที่แต่ละกลุ่มสนใจ 
2. อาจารย์อธิบาย ให้แนวคิด และยกตัวอย่าง ในการเขียนแผนที่ถูกต้อง
3. ทักษะการใช้คำถามปปลายเปิด เพื่อกระตุ้นความคิด โดยอาจารย์จะถาม และเปิดโอกาสให้
    นักศึกษาทุกคนได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
4. ทักษะการคิดวิเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์ 
5. อาจารย์สอน และอธิบายหน่วย ของทุกกลุ่ม ทำให้นักศึกษาได้ความรู้เพิ่มขึ้นนอกจากกลุ่ม
    ของตนเอง

การนำไปประยุกต์ใช้


1. สามารถนำความรู้มาฝึกเขียนแผนการสอน และพัฒนาการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ให้แก่เด็กได้ 
2. การจัดประสบการณ์ โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มุมต่างๆ ให้แก่เด็กได้
3. ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ มีกิจกรรมต่างๆ ที่แตกต่างกัน 
    มีทั้งการประดิษฐ์ การทดลอง การประกอบอาหาร เป็นต้น 
4. ในการสอนครูต้องระวัง ในเรื่องของความผิดพลาด เช่น ชวนเด็กๆสังเกตมะละกอ แล้วครูก็ผ่าให้
    เด็กได้เห็นเม็ดมะละกอ เหตุการณ์เช่นนี้ หากเป็นมะละกอที่ไม่มีเม็ด เด็กก็จะไม่เข้าใจ และ
    ไม่ได้เรียนเกี่ยวกับเม็ดมะละกอ ซึ่งจะทำให้กาารจัดการเรียนการสอน ไม่ตรงตามแผนการเรียน
    ที่ได้วางแผนไว้
5. สามารถเลือกหน่วยที่จะสอน แล้วนำมาเขียนแผนได้ดีขึ้น และนำมาปรับใช้ในรายวิชาอื่นๆ ได้
    เช่น วิทยาศาสตร์ , การเคลื่อนไหว , การเล่นกลางแจ้ง เป็นต้น


การประเมินการเรียนการสอน


>> ประเมินตนเอง     : เข้าเรียนสายเล็กน้อย แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน ระดมความคิดร่วมกับเพื่อน-
                                     ในกลุ่ม      ตอบคำถามของอาจารย์ และร่วมแสดงความเห็น อาจจะยากในการ
                                     ทำความเข้าใจใจเกี่ยวกับการเขียนแผน แต่จะศึกษา และฝึกเขียนแผนให้ได้
                                     อย่างถูกต้อง  เรียนอย่างสนุกสนาน       มีการจดบันทึกเนื้อหาที่อาจารย์สอน 
                                     โดยสรุปให้เข้าใจ
>> ประเมินเพื่อน       : เข้าเรียนตรงเวลาเป็นส่วนใหญ่ มีบางส่วนเข้าเรียนสาย แต่งกายถูกระเบียบ 
                                     ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ได้ตอบคำถามโดยมีการ
                                     คิดวิเคราะห์     สิ่งที่อาจารย์ถาม  และถามอาจารย์ในเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ 
                                     เพื่อให้เข้าใจในการเรียนมากขึ้น 
                                     ทำให้การเรียนการสอน เกิดความสนุกสนาน ไม่เครียดจนเกินไป 
>> ประเมินอาจารย์   : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม มีเทคนิก
                                     ในการสอนโดยใช้คำถามถามปลายเปิด เปิดโอกาสให้นักศึกษา
                                     ได้ถาม - แสดงความเห็น มีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้คิด และเข้าใจมากขึ้น  
                                     อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาชัดเจน ครอบคลุม และมีการทบทวน เกี่ยวกับ
                                     การจัดประสบการณ์     ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก  
                                     บรรยากาศในชั้นเรียนน่าเรียน และ สนุกสนาน


                            



วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9


วันพฤหัสบดีที่ 16 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557



 กิจกรรมในวันนี้ 


การนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย





        ผลงานของดิฉัน ^^ หนูน้อยกระโดดร่ม ^^


      



     ผลงาน "หนูน้อยกระโดดร่ม" 

         โดย ด.ญ. อนุส มูลทรัพย์ อายุ 4 ขวบ ค้ะ




        ^^ ผลงานของเพื่อนๆ  ^^





     ความรู้ที่ได้รับ


1. การจัดประสบการณ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
2. การนำสื่อ หรือของเล่น มาสอนวิธีทำ และวิธีเล่น ให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ 
    ซึ่งในการทำสื่อจะต้องทำให้มีความแข็งแรง ทนทาน และไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก
3. การสอนประดิษฐ์สื่อทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ เด็กต้องทำได้ 
    มีขั้นตอนในการทำที่ไม่ซับซ้อน และเด็กต้องได้รับประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์  
    ประสบการณ์ แบ่งเป็น เนื้อหา และทักษะ
4. การประดิษฐ์สื่อที่มีความหลากหลาย ให้เด็กเกิดการสังเกต ทดลอง 
    การเปรียบเทียบ และเกิดความคิดสร้างสรรค์
5. ทราบหลักการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งของเล่นวิทยาศาสตร์ แต่ละชิ้น เมื่อเล่นจะเกิด
    การเปลี่ยนแปลง โดยมีหลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างไรที่ทำให้เกิดเป็นสิ่งที่
    แปลกใหม่ขึ้นมา เช่น ทำไม เมื่อมีลมพัดผ่านมา กังหันลมถึงหมุน ?
6.  ในการสอนเด็ก ครูจะต้องมีความรู้ ต้องศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุน
    ให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. รู้จักเลือก และประยุกต์วัสดุเหลือใช้ มาประดิษฐ์ของเล่น ของใช้ต่างๆ ได้
8. การพูดนำเสนอชื้นงาน หน้าชั้นเรียน ซึ่งต้องพูดจาสุภาพ ชัดถ้อยชัดค
    พูดให้ผู้ฟังเข้าใจ ไม่พูดวกไปวนมา เนื้อหาครอบคลุมครบถ้วน
    และมีมารยาทที่ดี ทั้งในการเป็นผู้พูด และการเป็นผู้ฟัง


เทคนิกการสอน


1. ให้นักศึกษาสืบค้น และหาข้อมูลวิธีการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ ด้วยตนเอง 
2. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำเสนอผลงานของแต่ละคน ให้อาจารย์ และเพื่อนๆ เข้าใจ
3. เมื่อเพื่อนนำเสนอ เพื่อนที่นั่งฟังได้มีส่วนร่วมในการแสดงข้อคิดเห็น และถามข้อข้องใจ 
4. ทุกการนำเสนอ อาจารย์จะถามคำถาม เพื่อกระตุ้นความคิด และให้เกิดความเข้าใจกันทุกคน 
5. ทักษะการคิดวิเคราะ และการคิดสร้างสรรค์
6. ทักษะการพูด


การนำไปประยุกต์ใช้

1.  สามารถประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น เช่น
     การประดิษฐ์สิ่งของอย่างหนึ่ง หลายชิ้น ซึ่งแตกต่างกัน เพื่อให้เด็กได้นำมาเปรียบเทียบ
     ข้อแตกต่างของชิ้นงาน
     ยกตัวอย่าง >> ประดิษฐ์รถแข่งจากกระดาษที่มีมวลเท่ากัน แต่มีวิธีการพับที่แตกต่างกัน
2. สามารถเลือกวัสดุที่เหมาะสม มาประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กได้
3. สามารถดัดแปลงสิ่งประดิษฐ์ ให้เด็กสามารถใช้เล่นได้หลายๆเรื่อง เช่น
    สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถถอดเปลี่ยนรูปภาพต่างๆ ได้
4.  สามารถสอนให้เด็กๆ ประดิษฐ์ของเล่นต่างๆได้
5.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจ กล้าคิด กล้าแสดงออก
    ได้อย่างสร้างสรรค์
6.  สามารถนำเสนอชิ้นงานหน้าชั้นเรียนได้ดีขึ้น มีการอธิบาย บอกหลักการ และการสาธิต
    ให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจมากขึ้น
    

ประเมินการเรียนการสอน 


>> ประเมินตนเอง     : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน ฟัง และจดบันทึก
                                     สิ่งที่อาจารย์สอน และเนื้อหาที่เพื่อนๆ นำเสนอ 
                                     ตอบคำถามของอาจารย์ และร่วมแสดงความเห็น   
                                     ชอบสิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนๆ ที่แปลกใหม่ และมีความหลาากหลาย 
                                     สามารถนำมาสอนให้เด็กๆทำได้  
                                     กล้าในการนำเสนอชิ้นงานหน้าชั้นเรียนมากขึ้น
                                    บรรยากาศในการเรียนเกิดความสนุกสนาน เรียนเข้าใจ และไม่เครียด 
>> ประเมินเพื่อน       : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ 
                                     เพื่อนทุกคนนำสิ่งประดิษฐ์ของตนเองมานำเสนอ การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
                                     มีการพัฒนามากขึ้น อธิบายได้อย่างชัดเจน  มีการเตรียมข้อมูลมาล่วงหน้า
                                     ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 
                                     ได้ตอบคำถามในสิ่งที่อาจารย์ถาม
                                และถามอาจารย์ในเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ  เพื่อให้เข้าใจในการเรียนมากขึ้น 
>> ประเมินอาจารย์   : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม มีเทคนิกที่สนุกสนาน 
                                 เปิดโอกาสให้นักศึกษา ได้คิดถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ว่า 
                                 ทำไม ทำให้สิ่งประดิษฐ์ถึงเกิดเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น 
                                     ให้นักศึกษาได้ถาม และแสดงความคิดเห็นของตนเอง
                                 และอาจารย์อธิบายเนื้อหา หลักทางวิทยาศาสตร์  อย่างชัดเจน
                                 เพื่อให้นักศึกษาได้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง 


                                                               

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 


วันพฤหัสบดีที่ 9 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากทางมหาวิทยาลัย

ได้จัดให้มีการสอบกลางภาคเรียนที่1 /2557

                           


                                                        


วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดีที่ 2 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557

กิจกรรมในวันนี้


ชื่อกิจกรรม : ไต่ขึ้น ไต่ลง สนุกดีจัง
อุปกรณ์      :   กระดาษ (Paper)
                        ดินสอ  (Pencil)
                        สี (Colour)
                        กรรไกร (Scissors)
                        กาว (Glue)
                        แกนทิชชู่ 
                        ไหมพรม(Yarn)
                        ที่เจาะกระดาษ

       

       ขั้นตอนการทำ


1. ตัดกระดาษรูปวงกลม

2. วาดภาพระายสีตามจินตนาการ

3. ตัดครึ้งแกนทิชชู่

4. ใช้ที่เจาะกระดาษ เจาะแกนทิชชู่ ทั้ง 2 มุม จำนวน 4 รู

5. ทากาวที่กระดาษวงกลม แปะติดกับแกนทิชชู่ 
    จากนั้นร้อยเชือกใส่ในรูที่เจาะไว้ 
    พร้อมผูกปมเชือกให้เรียบร้อย

          วิธีการเล่น

ใส่คล้องคอ แล้วใช้มือดึงเชือกทั้งซ้าย และขวา 
จะเกิดการเปลี่ยนแปลง คือแกนทิชชู่จะไต่ขึ้นใต่ลงได้ 


ผลงาน ไต่ขึ้น ไต่ลงของเด็กๆ 





สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรัเด็กปฐมวัย



เทคนิกการสอน

 

1. แนะนำ และชี้แจงความรู้จากสิ่งที่เพื่อนนำเสนอบทความ
2. การใช้คำถามปลายเปิด เพื่อระดมความคิด
3. การนำเสนออย่างถูกต้อง
4. การอภิปราย
5. ทักษะการคิดวิเคราะห์ 
6. รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
7. ให้นักศึกษาได้มีการศึกษาหาข้อมูลด้วยตนเอง


การนำไปประยุกต์ใช้


>> สามารถจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในเรื่องที่เด็กสนใจ 
>> สอนให้เด็กได้คิด และค้นหาคำตอบ ด้วยตนเอง โดยการประดิษฐ์ หรือการทดลอง
>> สามารถศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตนเอง 
      โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
>> ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ คือเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 
>> สามารถนำการถามโดยใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก เพื่อการคิด และเข้าใจที่ถูกต้อง
>> จัดการสอนในรูปแบบการสืบเสาะหาความรู้
>> จัดการสอนให้เด็กได้เรียนจากประสบการณ์จริง
>> เปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมแสดงความคิดเห็น


การประเมินการเรียนการสอน


>> ประเมินตนเอง     : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งการถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน
                                     ตอบคำถามของอาจารย์ และร่วมแสดงความเห็น 
                                    พร้อมจดบันทึกเนื้อหาโดยสรุปความ
>> ประเมินเพื่อน       : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ทุกคนได้ร่วม
                                      แสดงความคิดเห็น และตอบคำถามโดยมีการวิเคราะห์
                                     สิ่งที่อาจารย์ถาม เพื่อให้เข้าใจในการเรียนมากขึ้น
>> ประเมินอาจารย์   : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม มีเทคนิก
                                     ในการสอนโดยใช้คำถามถามปลายเปิด เปิดโอกาสให้นักศึกษา
                                     ได้ถาม - แสดงความเห็น  ชวนคิด ชวนตอบ
                                     มีวิธีการสอนที่หลากหลาย มีการจัดกิจกรรมประดิษฐ์
                                     บรรยากาศน่าเรียน และ     สนุกสนาน

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทความวิทยาศาสตร์


บทความวิทยาศาสตร์


ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง 
อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ระดับ : อนุบาลหมวด: เกี่ยวกับอนุบาล

สอนลูกเรื่องเสียง


บทนำ


                  การสอนลูกเรื่องเสียง (Teaching Children about Sound) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับคลื่นที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือนทำให้เกิดการขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่ง ผ่านตัวกลางคืออากาศไปยังหู เสียงผ่าน ก๊าซ ของเหลว และของแข็งได้ เสียงจะมีระดับเสียงหลายระดับที่แตกต่างกัน ได้แก่ เสียงสูง กลาง ต่ำ ดัง เบา ทั้งนี้ เสียงจะเกี่ยวข้องกับอวัยวะของตัวเรา คือ หู ซึ่งเป็นประสาทสัมผัสสำคัญส่วนหนึ่งของมนุษย์ ใช้ฟังเพื่อการสื่อสาร คนเรารับรู้เสียงได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา เมื่อได้รับการกระตุ้นจากเสียง เพลง เสียงพ่อแม่พูดคุยด้วย นักวิจัยเกี่ยวกับสมองกล่าวว่า ทารกจะพัฒนาระบบการได้ยิน และระบบสมองที่เกี่ยวกับการได้ยิน (Tonotopic map)                                                                        

ครูสอนเรื่องเสียงให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร?


·         กิจกรรมเคลื่อนไหว และจังหวะ ใช้เครื่องดนตรีประกอบกิจกรรม เครื่องดนตรีที่ครูนำมาใช้ อาจเลือกได้ทั้งเครื่อง ดีด สี ตี เป่า เสียงดนตรีจากเครื่องดนตรีแต่ละชนิดจะให้เสียงแตกต่างกันไป เด็กได้ยินเสียงดนตรีพร้อมกับครูแนะนำชื่อเครื่องดนตรีให้เด็กได้รู้จัก 
·         กิจกรรมเสริมประสบการณ์ การจัดกิจกรรมเรื่องเสียง เป็นสาระความรู้ที่เด็กเรียนผ่านทักษะพื้นฐานทางวิทยา ศาสตร์ ทักษะทางสังคม ทักษะทางภาษา ตลอดจนเทคโนโลยีง่ายๆที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก
·         กิจกรรมสร้างสรรค์ เด็กๆจะมีความสนุกสนานเมื่อเรียนผ่านการเล่น เมื่อทำกิจกรรมสร้างสรรค์ท่ามกลางเสียง ดนตรีบรรเลง เด็กๆจะปั้นดิน วาดภาพระบายสี สะบัดสี พิมพ์ภาพ หยดสี หยดเทียน โรยทราย ขยำกระดาษ ตามจัง หวะเสียงที่เขาได้ยิน เป็นงานที่สร้างสรรค์ตามจินตนาการของเด็ก
·         กิจกรรมกลางแจ้ง ให้เด็กได้เล่นผ่านเกมที่ใช้เสียง เช่น เกมปิดตาตามหาเพื่อน วิธีเล่นคือ ให้ผ้าเช็ดหน้าที่สะอาดปิดตา ส่วนเพื่อนที่เหลือจับมือเป็นวงกลมร้องเพลงหรือท่องคำคล้องจองว่า เพื่อนเอยมาทางนี้ ทายดูซิคนนี้คือใครผู้ที่ปิดตาจะเดินตรงไปหาเพื่อน เมื่อจับตัวเพื่อนไว้ แล้วให้ถามว่า เธอคือใคร ผู้ที่ถูกจับตัวจะต้องตอบว่า ฉันคือเพื่อนที่แสนดี เด็กที่ปิดตาจะต้องทายว่าผู้พูดชื่ออะไร ถ้าทายถูก เพื่อนคนนั้นจะต้องมาเป็นผู้ปิดตาแทน
·         เกมการศึกษา ฝึกประสาทหูด้านการฟังจากเกมง่ายๆ เช่น จับคู่ภาพเครื่องดนตรีกับเสียงดนตรีที่ได้ยิน ภาพคนวัยแตกต่างกันกับเสียงต่างๆ (เสียงร้องไห้ หรือ หัวเราะ) จับคู่เสียงที่มาจากวัสดุเดียวกัน 
·         กิจกรรมเสรี


การสอนเรื่องเสียงมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?


·                                          เด็กได้รับความรู้เรื่องเสียงที่ได้ยิน เป็นเสียงจากอะไร เป็นเรื่องราวที่อยู่ใกล้ตัวเด็กที่ควรรู้ เช่น เสียงของคน สัตว์ คลื่นลม ฝน น้ำไหล เสียงที่เกิดจากการกระทบของวัตถุต่างๆ แต่ละเสียงบ่งบอกความหมายด้วยเช่นกัน เช่นเสียงลมที่พัดแรงพัดกระทบกิ่งไม้ หรือ น้ำทะเล แสดงถึงภัยอันตราย เสียงสุนัขเห่ากระโชกบอกถึงความดุร้าย
·         เด็กจะเห็นคุณค่าและโทษของเสียง สิ่งที่เป็นธรรมชาติย่อมมีคุณและโทษเสมอ คนเราจึงที่ควรเรียนเพื่อเสริม สร้างประสบการณ์ ใช้เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติตนในการดำรงชีวิตต่อไป เช่น เสียงที่เราพูดจา ทำให้เราสามารถติด ต่อกันจนเกิดเป็นสังคมของมนุษย์ เสียงดนตรีสร้างอารมณ์ความสุข เสียงจึงมีคุณค่าต่อคนเรา แต่ขณะเดียวกันหากเสียงดังมากไป อาจจะทำให้อันตรายต่อเยื่อแก้วหูของเรา คือทำให้เกิดการฉีกขาดของเยื่อแก้วหู และหูหนวกจนไม่ได้ยินเสียงได้
·         เด็กได้เรียนรู้ธรรมชาติของเสียงด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อฝึกความคิดเชิงเหตุผล และปลุกฝังจิตวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กเป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เห็น กระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้ มีความสุขและความสนุกที่ทำงานร่วมกับผู้ อื่น เช่น ฝึกการสังเกตและจำแนกเสียงสัตว์ เสียงวัตถุต่างชนิดกระทบกระแทกกันย่อมมีเสียงแตกต่างกัน การสังเกตจากประสาทหู เป็นทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญประการหนึ่งที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้นการที่เด็กจะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะจำแนก ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความ หมาย และทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูลได้นั้น ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็ก ได้สืบค้นจากเรื่องเสียง ให้เกิดประโยชน์ดังที่กล่าวมาแล้วได้เป็นอย่างดี
·         การติดต่อสื่อสารในสังคมของคนเรา เสียงใช้สื่อความหมายที่ทำให้เข้าใจความต้องการ เด็กๆได้รับการฝึกฝนการใช้เสียงเพื่อการเข้าสังคมที่เหมาะสม เช่นการเปล่งเสียงเบาและนุ่มนวล จะให้ความรู้สึกถึงจิตใจที่อ่อนโยน จึงเป็นที่รักและการยอมรับในสังคมหรือเป็นมารยาททางสังคมที่เหมาะสม แต่จะแตกต่างจากเสียงตะโกนดังๆ หรือที่เรียกว่าตะคอกนั้น จะไม่เป็นที่สบอารมณ์ของผู้ฟัง เป็นต้น การอบรมบ่มนิสัยเด็กให้ใช้เสียงเหมาะแก่กาลเทศะจึงเป็นการเสริมสร้างคุณลักษณะนิสัยของเด็ก

เกร็ดความรู้เพื่อครู

·         เสียงธรรมชาติที่ทำให้เด็กๆตกใจ เกิดความหวาดกลัว คือเสียง ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ครูควรเข้าใจสาเหตุของการเกิดเช่นนั้นว่า เสียงฟ้าผ่าเป็นเสียงที่เราได้ยินการสั่นสะเทือนของอากาศที่อยู่สูงขึ้นไปในก้อนเมฆ ซึ่งเกิดจากการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

·         เครื่องบินเจ็ทเป็นเครื่องบินที่เคลื่อนที่รวดเร็วมาก บางครั้งจะเกิดการชนกับอากาศที่อยู่ข้างหน้า ซึ่งกำลังสะเทือนอยู่แล้วจากเสียงของเครื่องบิน เสียงนั้นเดินทางเร็วอยู่แล้ว แต่เครื่องบินเจ็ทบินเร็วกว่า คนที่อยู่ข้างล่างจึงได้ยินเสียงที่ชนกันเหมือนเสียงระเบิดของอากาศดังลั่นไปหมด 



บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 


วันพฤหัสบดีที่ 25 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557


ชื่อกิจกรรม :  ร่อนลงมา นะเจ้ากระดาษน้อย  (Paper down glider)
อุปกรณ์       :  1. กระดาษสี่รูปเหลี่ยมผืนผ้า  (Rectangle paper)
                       2.  กรรไกร (Scissors)
                          3. คลิปหนีบกระดาษ (Paper clip)

ขั้นตอนการทำ
1. ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Cut a rectangle of paper)
2. พับครึ่งกระดาษตามแนวตั้ง (Fold the paper vertically)
3. ตัดปลายกระดาษเข้าด้านใน จนถึงครึ่งหนึ่งของครึ่งที่ตัดไว้
    (Cutting edges inward So far, half of the half to cut them)
4. พับปลายกระดาษฝั่งตรงกันข้าม โดยพับเข้ามาเล็กน้อย
    (Fold opposite edges)
5. ติดคลิปหนีบกระดาษตรงส่วนปลายกระดาษที่พับเข้า
    (The paper clip at the end of the folded paper)
6. ตกแต่งตามจินตนาการ (Imagination to decorate)

การประดิษฐ์




      สิ่งที่เด็กได้รับ

>> เรียนรู้เรื่องแรงโน้มถ่วง (Gravitation)
>> เรียนรู้เรื่องแรงต้านทาน (Resistance)
>> เรียนรู้วิธีการโยน และลักษณะการร่อนลง
>> ทดลอง และเปรียบเทียบสิ่งประดิษฐ์ที่ตนเองทำขึ้น
>> เด็กได้ใช้ความคิดทั้งเชิงเหตุผล และเชิงสร้างสรรค์
>> เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือปฏิบัติจริง
>> ได้เล่นร่วมกับเพื่อนๆ อย่างอิสระ
>> กล้าคิด กล้าทำ และภาคภูมิในในผลงานของตนเอง
>> สร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวเด็ก


สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




Mind map หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง กล้วย







เทคนิกการสอน


1. การให้ลงมือประดิษฐ์ ของเล่นวิทยาศาสตร์ เพื่อทำการทดลอง
    และเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นการใช้ความคิด 
3. เปิดโอกาสการถามตอบ เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเรียน
    และการทำกิจกรรม
4. ยกตัวอย่างสื่อสิทยาศาสตร์ ซึ่งเด็กสามารถทำได้ มีวิธีทำไม่ซับซ้อน
5. ทักษะการสรุปในการทำ Mind map หน่วยการเรียนรู้ และการยกตัวอย่างประกอบ

การนำไปประยุกต์ใช้


>> สามารถสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ได้ โดยต่อยอด
     จากประสบการณ์ หรือความรู้เดิม
>> นำไปสอนการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น 
     โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือปฏิบัติจริง
>> การใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นความคิดของเด็ก 
>> จัดทำแผนการสอน จากการทำ Mind map หน่วยการเรียนรู้ 
      เพื่อจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กอย่างมีประสิทธิภาพ

การประเมินการเรียนการสอน


>> ประเมินตนเอง     : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งการถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน
                                     ตอบคำถามของอาจารย์ ร่วมแสดงความคิดเห็น 
                                    และทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน  พร้อมจดบันทึกความรู้ที่เรียน
>> ประเมินเพื่อน       : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ทุกคนได้ร่วม
                                      แสดงความคิดเห็น และตอบคำถามโดยมีการวิเคราะห์
                                     สิ่งที่อาจารย์ถาม เพื่อให้เข้าใจในการเรียนมากขึ้น
                                     และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ 
>> ประเมินอาจารย์   : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม มีเทคนิก
                                     ในการสอนโดยใช้คำถามถามปลายเปิด เปิดโอกาสให้นักศึกษา
                                     ได้ถาม - แสดงความเห็น  มีเทคนิกการสอนที่หลากหลาย 
                                          มีการจัดกิจกรรมโดยให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง 
                                     บรรยากาศน่าเรียน และ     สนุกสนาน