บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันพฤหัสบดีที่ 27 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เนื้อหา และกิจกรรมที่ได้เรียนวันนี้
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอวิจัย และโทรทัศน์ครู
การนำเสนอวิจัย
ตัวแปรต้น : ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย
ตัวแปรตาม : ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ
- การสังเกต
- การจำแนก
- การวัด
- การหามิติสัมพันธ์
ตัวอย่างชุดกิจกรรม หน่วย สัตว์เลี้ยงแสนดี
1. ให้เด็กๆ แสดงท่าทางตามแผ่นภาพสัตว์ที่ตนเองหยิบมา
2. ให้เด็กๆ จับคู่ภาพสัตว์ และอาหารของสัตว์
3. ให้เด็กๆ เรียงลำดับภาพสัตว์ขนาดเล็กไปขนาดใหญ่
ตัวอย่างชุดกิจกรรม หน่วย สัตว์เลี้ยงแสนดี
1. ให้เด็กๆ แสดงท่าทางตามแผ่นภาพสัตว์ที่ตนเองหยิบมา
2. ให้เด็กๆ จับคู่ภาพสัตว์ และอาหารของสัตว์
3. ให้เด็กๆ เรียงลำดับภาพสัตว์ขนาดเล็กไปขนาดใหญ่
2. วิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์ หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์ นอกชั้นเรียนที่มีต่อ
ทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
ทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ทีี่ได้รับ
- การสังเกต
- การกะประมาณ
- การเปลี่ยนแปลง
หน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้
1) กิจกรรมแว่นขยายเห็นชัดเจน
2) กิจกรรมแสงเป็นอย่างไร
3) กิจกรรมเสียงในธรรมชาติ
การคิดเชิงเหตุผล เป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
กิจกรรม >> สนุกกับน้ำ
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ
- การจำแนกประเภท
- การจัดประเภท
- อนุกรม (เหตุผล)
4. วิจัยเรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีผลต่อทักษะวิทยาศาสตร์ ด้านการสังเกต
และการจำแนกของเด็กปฐมวัย
และการจำแนกของเด็กปฐมวัย
กิจกรรม >> พืชต้องการแสงแดด
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ
- การสังเกต
- การจำแนกประเภท
- การแบ่งปริมาตร และการวัด
- การสื่อความหมาย
- การหามิติสัมพันธ์
- การลงความเห็น
การนำเสนอโทรทัศน์ครู
1. จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน เสียงมาจากไหน
การทดลอง >> ไก่กระต๊าก, อ่างดำเกิดเสียงก้อง, กระป๋องร้องได้
สรุปการทดลอง >> เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนที่ของวัตถุ
2. สอนวิทย์ คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
การทดลอง >> การเปลี่ยนแปลงของน้ำตาล, ความลับของสีดำ, การล้นของน้ำ, จม-ลอย,
3. อนุบาล 3 เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
การทดลอง
การต่อไฟฟ้า >> เด็กได้เรียนรู้ขั้วบวก ขั้วลบของถ่ายไฟฉาย และเรียนรู้ว่าไฟส่องสว่างได้อย่างไร
งูเต้นระบำ >> งูกระดาษหมุนได้ เพราะมีลักษณะเป็นโค้งๆ และอยู่เหนือเทียนที่จุดไฟ
4. กิจกรรมเรือสะเทินน้ำ สะเทินบก
เรือเคลื่อนที่ได้ เพราะมีแรงลม
5. สัปดาห์วิทยาศาสตร์
กิจกรรมการทดลอง >> พลังงานความร้อน, การดูดความร้อน, ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งของแสงสว่าง
6. ขวดปั๊ม และลิปเทียน
การทดลอง >> ขวดปั๊ม, ลิปเทียน
7. สื่อแสงแสนสนุก
8. วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตอนพลังจิต คิดไม่ซื่อ
9. ทะเลฟองสีรุ้ง
สีต่างๆ เกิดขึ้นจากการหักเหของแสง
10. สาดสีสุดสนุก
เด็กได้ทดลองทำสีที่ได้จากธรรมชาติ
11. ทอนาโดมหาภัย
ทดลองทำคลื่นน้ำ ในขวด เป็นการผสมกันของน้ำมัน น้ำเปล่า และสีผสมอาหาร
ซึ่งน้ำกับน้ำมัน จะแยกชั้นกัน
12. ไข่ในน้ำ
ทดลองการจม-ลอย ของไข่
เมื่อใส่ไข่ลงไปในแก้วที่มีน้ำเปล่า ไข่จะจม
แต่เมื่อใส่ไข่ลงไปในแก้วน้ำที่ผสมเกลือลงไปในน้ำ จะทำให้ไข่ลอย
13. ความลับของใบบัว
ผิวบนใบบัว มีตุ่มเล็กๆ น้ำจึงกลิ้งบนใบบัวได้
เทคนิกการสอน
1. อาจารย์ให้นักศึกษาได้สืบค้นข้อมูล ในเรื่องของวิจัยวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
และสืบค้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ จากโทรทัศน์ครู ด้วยตนเอง
2. นักศึกษาได้ฝึกการพูดนำเสนองาน หน้าชั้นเรียน ได้รับทักษะการใช้น้ำเสียง, การพูด
และบุคลิกภาพที่เหมาะสมในการพูด ได้ถ่ายทอดความรู้ ให้เพื่อนๆ และอาจารย์เข้าใจได้
3. การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นการคิดสร้างสรรค์ และการคิดวิเคราะห์
4. การให้คำแนะนำ ดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปต่อยอดในการจัด
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยได้
5. ทักษะการสรุปงาน สรุปจับใจความสำคัญ เพื่อให้ตนเองเข้าใจเนื้อหาที่เพื่อนมานำเสนอได้
6. ทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี ขณะที่นักศึกษาออกมานำเสนอ
การนำไปประยุกต์ใช้
1. สามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนมานำเสนอ ไปใช้ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
2. สามารถนำทักษะการพูดหน้าชั้นเรียนไปใช้ในการนำเสนอในรายวิชาอื่นได้ และมีหลักการพูด
การใช้น้ำเสียง และบุคคลิกภาพที่เหมาะสมในการพูด ไปใช้ในอนาคตได้
3. สามารถนำทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี ในขณะที่มีคนพูด และสามารถจดบันทึกการสรุปความ
จากสิ่งที่ได้รับฟัง เพื่อให้ตนเองเข้าใจได้
4. สามารถนำทักษะทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยได้
5. สามารถประยุกต์การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ และดัดแปลงสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรม
ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ำซาก
การประเมินการเรียนการสอน
>> ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
ตั้งใจฟัง และจดบันทึกขณะที่เพื่อนออกมานำเสนอ
แต่จดได้ไม่ละเอียดเท่าที่ควร เพราะไม่ค่อยสบาย และปวดหัว
เข้าใจในกิจกรรมที่เพื่อนมานำเสนอ และจะนำไปใช้จัดการเรียนการสอน
ให้แก่เด็กปฐมวัยให้ดีที่สุด ^^
>> ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
เพื่อนที่ออกมานำเสนองาน มีการสรุป และจับใจความได้เป็นอย่างดี
เป็นผู้ฟังที่ดีในขณะที่เพื่อนออกมาพูดหน้าชั้นเรียน บางคนก็คุยกันบ้าง
แต่โดยภาพรวมแล้ว ตั้งใจฟัง และมีการจดบันทึกสรุปในสิ่งที่ได้รับฟัง
มีการแสดงความคิดเห็น และโต้ตอบ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม
ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเกิดความสนุกสนาน
เพราะได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ^^
>> ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
อาจารย์ให้คำแนะนำ สรุปความ ให้นักศึกษาได้เข้าใจง่ายมากขึ้น
อาจารย์จับใจความสำคัญ ในเรื่องที่นักศึกษามานำเสนอได้เป็นอย่างดี
อาจารย์อารมณ์ดี สอนอย่างสนุกสนาน ทำให้นักศึกษาไม่เครียด
เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถาม และตอบ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจบทเรียน ในวันนี้ได้เป็นอย่างดี ^^