วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันพฤหัสบดีที่ 4 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2557


^^ วันนี้นำเสนอวิจัยเรื่องสุดท้าย ^^



กิจกรรม >> ไข่หมุน 
1. ไข่ต้มสุก
2. ไข่ดิบ

 ขั้นนำ (Introduction)
 -  ครู แนะนำอุปกรณ์ให้เด็กๆสังเกต

 ขั้นสอน (Step instruction)
1.ให้เด็กๆ นำไข่ต้มสุก มาทดลองหมุน แล้วสังเกตการหมุน 
2. ให้เด็กๆ นำไข่ดิบ มาทดลองหมุน แล้วสังเกตการหมุน 
3. ให้เด็กๆ ทดลองหมุน ทั้งไข่ต้มสุก และไข่ดิบ แล้วสังเกตการหมุน
4. เด็กๆบอกความต่างการหมุนของไข่ทั้งสอง 
  
  ขั้นสรุป (Conclusion)
  -ครู และเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรม

กิจกรรมในวันนี้ คือ 
อาจารย์ สอนขั้นตอน การเขียนวรสารถึงผู้ปกครอง ซึ่งขั้นตอนในการเขียนมีดังนี้

1. พับกระดาษ A4 เป็นสามส่วน 

2. ส่วนของหน้าปก
    - สัญลักษณ์โรงเรียน
    - ชื่อโรงเรียน
    - ชื่อหน่วย
    - รูปภาพเกี่ยวกับหน่วย
    - ชื่อนักเรียน
    - ชื่อครูประจำชั้น

3. ส่วนเนื้อหาข้างใน
    - ข่าวประชาสัมพันธ์
    - วัตถุประสงค์ 
    - สาระการเรียนรู้ 
    - ขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง
    - สื่อที่ใช้สอน เช่น เพลง, คำคล้องจอง หรือนิทาน เป็นต้น

4. ส่วนหลังสุด
    - เกมเกี่ยวกับหน่วย

อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ระดมความคิด และร่วมกันเขียนวรสารถึงผู้ปกครอง
กลุ่มของพวกเรา หน่วยกล้วยค้ะ ^^


ส่วนของด้านหน้า และด้านหลัง


ส่วนของด้านใน 


เทคนิกการสอน 

1. อาจารย์ให้นักศึกษาได้ศึกษา และสรุปทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิจัยทางวิทยาศาสตร์
    สำหรับเด็กปฐมวัย จากนั้นนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนๆ และอาจารย์เข้าใจ 
2. อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยให้เขียนวรสาร ร่วมกันเป็นกลุ่ม
3. อาจารย์ ยกตัวอย่างเนื้อหาในการเขียนวรสารให้นักศึกษาเข้าใจอย่างชัดเจน
4. ทักษะการสรุป มีการสรุปสิ่งต่างๆ ที่นักศึกษาเขียนลงไป 
5. ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นการคิด ทำให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดของตนเอง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


1. สามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้เป็นอย่างดี โดยจะมีการแบ่งหน้าที่อย่างเหมาะสม 
    และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งการแสดงความคิดของตนเอง และการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน
2. สามารถเขียนวรสารถึงผู้ปกครอง ได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ได้จริง
3. สามารถใช้คำถามเกี่ยวกับทักษะทางวิทยาศาสตร์ได้ เช่น
    ทักษะการสังเกตได้ อาจถามได้ว่า  "กล้วยมีลักษณะอย่างไรบ้าง"
    ทักษะการสื่อความหมาย อาจให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง หรือให้เด็กได้รายงาน
4. สามารถขอความร่วมมือจากผู้ปกครองได้อย่างเหมาะสม 

ประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง >>    : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
                                     ตั้งใจฟัง และจดบันทึกการนำเสนอวิจัยของเพื่อน
                                     ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายถึงการเขียนวรสารถึงผู้ปกครอง
                                     และร่วมเขียนวรสารกับเพื่อนๆ โดยจะช่วยกันคิดเนื้อหาต่างๆ
                                     ชอบเทคนิกการเขียนวรสารถุงผู้ปกครองมากค่ะ
                                     เพราะว่าผู้ปกครองจะได้ทราบว่าเด็กๆ เรียนเรื่องอะไร
                                    เนื้อหาที่ครูสอนเป็นอย่างไรบ้าง และยังทำให้การเรียนการสอน
                                    เป็นไปอย่างเหมาะสม สามารถขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง
                                    ในเรื่องต่างๆได้ เช่นให้เด็กนำสื่อของจริงมาโรงเรียน เพื่อจัด
                                    กิจกรรมการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี 
>> ประเมินเพื่อน    :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
                                    เพื่อนๆ ตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกมานำเสนอวิจัย และจดบันทึก
                                    เพื่อนๆให้ความร่วมมือ ในการเขียนวรสารเป็นอย่างดี
                                    มีการเสนอความคิดเห็น และร่วมกันคิดเนื้อหาต่างๆ ที่จะเขียนลงไป
                                    จึงทำให้ผลงานออกมาดีมากค่ะ บรรยาการศในห้องเรียนก็สนุกสนานดี
                                    แต่ละกลุ่มก็ร่วมมือกันทำงาน มีคุยและเล่นกันบ้าง แต่ก็สนุกสนานมากค่ะ
>> ประเมินอาจารย์ :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
                                    อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ค้นคว้าวิจัย และนำเสนอ                                
                                    มีเทคนิกการสอนที่เข้าใจง่าย เพราะอาจารย์ จะสอนวิธีการเขียนวรสารก่อน
                                    แล้วให้นักศึกษาจับกลุ่มกันทำกิจกรรม ขณะที่นักศึกษาร่วมกันระดมความคิด
                                    อาจารย์ก็เข้ามาดู และสอบถามว่า "เขียนอย่างไรกันบ้าง" หากนักศึกษา
                                    ไม่เข้าใจส่วนไหน อาจารย์ก็จะช่วยบอก และอธิบายทันที
                                    ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจอย่างถูกต้อง และงานออกมาดีมากค่ะ
                                    เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม อาจารย์ก็ได้สรุปให้นักศึกษาฟังเกี่ยวกับการเขียน
                                    วรสารถึงผู้ปกครอง เป็นเทคนิกการสอนที่ดีมากค่ะ
                                    และสามารถนำไปใช้ได้จริง^^


วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุป โทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครู 

 บ้านนักวิทย์ปี 1 
เรื่อง การละลายของน้ำตาล 

ขั้นนำ (Introduction)
ครูจะใช้คำถามปลายเปิด ถามคำถามเด็กๆ เช่น 
เครื่องปรุงที่คุณแม่ใช้ในบ้านมีอะไรบ้าง? เด็กๆ ตอบว่า พริก, พริกไทย, น้ำตาล
จากนั้นครูแนะนำอุปกรณ์ในการทดลอง ดังนี้
1. น้ำเปล่า (Water)
2. ผ้าเช็ดมือ (Napkin)
3. หลอดหยด(Dropper)
4. น้ำมัน (Oil)
5.น้ำตาลก้อน (Cube sugar)
6. สีผสมอาหาร (Food coloring)
7. จาน (plate)
8. กระดาษทิชชู่ (Tissue)

ขั้นสอน (Step instruction)

                          1. ครูแจกการดาษทิชชู่ และแจกน้ำตาลก้อนให้เด็กๆ 


                                 2. ครูให้เด็กๆ หยดสีผสมอาหารลงบนน้ำตาล



                          3. เทน้ำใส่จาน ประมาณครึ่งจาน จากนั้นครูถามเด็กๆว่า 
                              "ถ้าใส่น้ำตาลลงไปในน้ำจะเกิดอะไรขึ้น" 
                              เด็กๆ ตอบว่า น้ำตาลจะละลาย บางคนก็ตอบว่า น้ำจะเปลี่ยนสี 
                              และบางคนตอบว่า สีผสมกัน  



                            4. นำน้ำตาลก้อนที่หยดสีแล้ว มาวางลงบนจานที่ใส่น้ำไว้

    ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำตาลละลาย น้ำเปลี่ยนสี  


    ทดลองกับน้ำมันบ้างนะ
1. ครูเทน้ำมันลงในแก้วใสใบเล็ก
2. จากนั้นครูใช้คำถามปลายเปิด โดยถามเด็กๆว่า
   "ถ้าครูใส่น้ำตาลก้อนลงไปในน้ำมัน จะเกิดอะไรขึ้น"
    เด็กๆตอบว่า น้ำตาลจะละลาย, น้ำจะเปลี่ยนสี 
3. เมื่อครูใส่น้ำตาลก้อนลงไปในน้ำมัน 

ผลที่เกิดขึ้นคือ น้ำตาลไม่ละลาย และน้ำมันไม่เปลี่ยนสี

ขั้นสรุป (conclusion)
ครู และเด็กๆร่วมกันสรุปกิจกรรม ดังนี้ 
น้ำตาลจะละลายในน้ำ แต่ไม่ละลายในน้ำมัน 



VDO บ้านนักวิทย์ฯ 
กิจกรรม การละลายของน้ำตาล